วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 6

งานวิจัยโครงการออกแบบบ้านเคหะชนบทบูรณาการภาคเหนือ

ความ สำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยของภาคเหนือ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ สอดคล้องกับ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วิถีชีวิต และสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เรือนพักอาศัยในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัย มีลักษณะวัสดุและการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประกอบเป็นรูปแบบที่ผ่านการพิจารณา ดัดแปลง ปรับเปลี่ยนที่สืบทอด พัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานด้วยวิธีการทางประเพณี
ทำ ให้ผู้อาศัยอยู่อย่างสะดวกสบายสอดคล้องกับวิถีชีวิต แต่ในปัจจุบันพบว่าที่อยู่อาศัยชนบท ได้รับผลกระทบปัญหาเกิดจากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม ได้เปลี่ยนแปลงไปมากและรวดเร็วในหลายๆด้าน เช่น วัสดุและช่างก่อสร้าง วิถีชีวิต ความทันสมัย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารและคมนาคม ทำให้ชาวชนบทส่วนหนึ่งได้พบเห็นรูปแบบบ้านพักอาศัยที่เป็นแบบสมัยนิยมเหมาะ สำหรับในเมือง ที่มีภูมิอากาศและบริบทที่เกี่ยว ข้องแตกต่างกัน นำไปดัดแปลงใช้สร้างเป็นที่อยู่อาศัยชนบท เกิดขึ้นจากการมองเห็นแล้วลอกเลียนแบบแบบฉาบฉวย เพราะคิดว่าเป็นความทันสมัยและใช้เป็นเครื่องวัดความเจริญ โดยเฉพาะการลอกเลียนแบบบ้านพักอาศัยหมู่บ้านจัดสรรในเมือง ซึ่งมีรูปแบบที่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขหลายประการ โดยมีเหตุผลสำคัญของการออกแบบได้แก่ กระแสนิยม รสนิยม และธุรกิจ ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของการตลาด รวมถึงลักษณะกายภาพของแปลงที่ดิน สภาพแวดล้อม กฎระเบียบ สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากพื้นฐานของการอยู่อาศัยในชนบท อันเป็นผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้ตอบสนองการอยู่อาศัย อย่างเต็มที่ ไม่ได้เกิดพัฒนาการที่อยู่อาศัยแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นชนบทในอดีต นอกจากนี้ปัญหาอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความเข้าใจเรื่องแบบแผนการสร้าง บ้านพักอาศัย ไม่สามารถหาที่ปรึกษาหรือผู้ออกแบบที่เหมาะสมได้ เมื่อจะสร้างบ้านก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างรับเหมาหรือช่างก่อสร้าง ทั้งการออกแบบและก่อสร้าง ซึ่งมักจะสร้างไปตามความถนัดของตนเองหรือราคาค่าก่อสร้าง เป็นข้อคำนึงสำคัญ ทำให้ชาวชนบทเหล่านี้ได้รับบ้านเรือนที่ไม่ตอบสนองกับวิถีชีวิตและสิ่งแวด ล้อมอย่างเหมาะสม
ตลอดจนคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ขาดหายไป อย่างไรก็ตามชาวชนบทยังคงต้องการที่อยู่อาศัยแบบชาวเมืองอยู่    การเคหะ แห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการตอบสนองรสนิยมและความต้องการแบบบ้านทันสมัยที่ เหมาะสมสำหรับชาวชนบท ด้วยการวิจัยเกี่ยวกับแบบบ้านที่เหมาะสมกับชาวชนบทในแต่ละพื้นที่ ด้วยต้นแบบและแบบก่อสร้างพร้อมแบบต่อเติมอาคาร เมื่อครอบครัวขยาย โดยผสานคุณค่าด้านการใช้วัสดุ รูปแบบการอยู่อาศัย และอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้อย่างสมดุล ตลอดจนคำนึงถึงการใช้สอยสำหรับทุกเพศทุกวัย คนพิการ และการออกแบบให้ลดปัญหาโลกร้อน
           ด้วยเหตุผลดังกล่าวการศึกษาวิจัย โครงการศึกษาแบบบ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ (ภาคเหนือ) จึง เกิดขึ้นเพื่อจัดเตรียมแบบก่อสร้างบ้านต้นแบบมาตรฐาน เพื่อใช้ เป็นแบบบ้านทางเลือกของชาวชนบทที่ต้องการสร้างบ้านที่เหมาะสมกับการอยู่ อาศัยในบริบทของชนบท เป็นบริการไม่คิดมูลค่าของการเคหะแห่งชาติเพื่อเผยแพร่ผ่านทางองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ฯลฯ ให้เป็นแบบบ้านสำเร็จรูปสำหรับปลูกสร้างได้ทันที โดยผู้สนใจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างสถาปนิก วิศวกรมาทำการออกแบบบ้านอีก นอกจากนี้ข้อมูลการวิจัยที่ได้จากการสำรวจ ศึกษารวบรวม การระดมความเห็นจากผู้ใช้ในชนบท ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนต่างๆ ยังจะสามารถใช้ฐานข้อมูลด้านเคหะชนบทของภาคเหนือและประเทศไทย เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา การพัฒนาชนบท และอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สร้างความยั่งยืนของประเทศต่อไป
สาขา สถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นองค์กรประเภทสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจด้านการให้การศึกษาสถาปัตยกรรม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ มีบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านงานสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนา สถาปัตยกรรมภายใน และผังเมือง ตลอดจนบุคลากรภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ ที่ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่สาขาสถาปัตยกรรม ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านอื่นๆที่ร่วมเป็นเครือข่ายให้ข้อมูลวิชาการ อีกทั้งในปี 2551 ได้ก่อตั้งหน่วยงานวิจัยกลุ่ม การออกแบบและวางแผนอย่างยั่ง (SUSTAINABLE DESIGN AND PLANNING: SDP) ซึ่ง เป็นประโยชน์ต่อโครงการศึกษาวิจัยนี้ ดังนั้นสาขาสถาปัตยกรรมจึงขอเสนอตัวเข้าร่วมดำเนินโครงการศึกษาวิจัย ในโครงการศึกษาแบบบ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ (ภาคเหนือ) ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อศึกษาพัฒนาชนบทด้านการเคหะ อันเป็นภารกิจหลักขององค์กรทั้งสอง

คณะผู้ดำเนินการวิจัย
1. . ดร. กาญจน์ นทีวุฒิกุล                               หัวหน้าโครงการวิจัย, และนักวิจัย
ด้านสถาปัตยกรรมภายใน เศรษฐศาสตร์และผังเมือง
2. . จุลทัศน์ กิตติบุตร                                        ที่ปรึกษา
3. . อภิชาติ  ศรีอรุณ                                          ที่ปรึกษา
4. . จุไรพร ตุมพสุวรรณ                                   เลขานุการ และนักวิจัยสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีอาคาร
5. . สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี                                   นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
6. . สุพล ปวราจารย์                                          นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
7. . วีรพจน์ การคนซื่อ                                      นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
8. . สุรกานต์ จันทรวงค์                                    นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมภายในและสภาพแวดล้อมภายใน
9.  . พงษ์สิน ทวีเพชร                                       นักวิจัยด้านผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม                     
10.  ..นิภาพร แสนสุภา                                ผู้ช่วยนักวิจัย
11. น.ส. ศุภางค์กร พนมฤทธิ์                        ผู้ช่วยนักวิจัย
ขอขอบคุณ
คณะทำงานจากการเคหะแห่งชาติ
ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
นายนิรุจ เจียมจรรยงค์ รองผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
คณะฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัยการเคหะแห่งชาติ
คุณสุพัตรา นาคาศัย
คุณอุไรวรรณ
คุณสุขุมาภรณ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
อ.ชัยยง เอื้อวิริยานุกุล อธิการบดี มทร.ล้านนา
สถาบันวิจัยและพัฒนา
คณบดี คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น