วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 4

โครงการวิจัยเพื่อออกแบบปรับปรุงการตกแต่งภายในอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
โดยความร่วมมือทางวิชาการจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
บันทึกความเข้าใจขั้นต้นก่อนจัดทำข้อเสนอการวิจัย
ทาง ศูนย์ฯ โดยคุณตุ๋ยได้ทำหนังสือมาถึงคณะขอเชิญผศ.ชัยณรงค์ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานต่อเนื่องจากการขอคำปรึกษาในขั้นต้นเมื่อ ต้นปี2553 ที่ผ่านมา
ผศ.ชัยณรงค์ ได้ขอเข้าพบผู้อำนวยการศูนย์เพื่อขอคำปรึกษาและทราบรายละเอียดเบื้องต้น สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไปเมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2554
ทางผู้ อำนวยการคุณตุ๋ยและอาจารย์เอ๋ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องกรอบและแนวทางจัดการดำเนินการซึ่งสรุปได้ ว่าเป็นการออกแบบเร่งด่วนและงานออกแบบภาพรวมของพื้นที่ใช้งานในปัจจุบัน สำหรับผู้บริการและคณะกรรมการพิจารณาต่อไป
บทสรุปผู้บริหาร : ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ให้ ดำเนินการออกแบบปรับปรุงพื้นที่หลักสองส่วนได้แก่ส่วนต้อนรับและประชุมส่วน หน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4 โดยให้จัดทำแบบและดำเนินการตกแต่งพื้นที่ดังกล่าวให้ผู้ใช้งานอาคาร
ให้ ดำเนินการศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรโดยจัดทำข้อสรุปเป็น แบบร่างขั้นกลางสำหรับนำเสนอที่ประชุมผู้บริหารและกรรมการฝ่ายต่างๆเพื่อ พิจารณา
โดยทั้งสองส่วนนี้ จะขอความอนุเคราะห์ให้จัดทำดำเนินการเป็นการศึกษาวิจัยและออกแบบปรับปรุงใน รายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 ของนักศึกษาภาควิชาออกแบบภายในชั้นปีที่3 (ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม2554ระยะเวลา 8 สัปดาห์)

การออกแบบตกแต่งภายในส่วนต้อนรับและประชุมส่วนหน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4
โดย การอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการให้เสร็จสิ้นของผศ.ชัยณรงค์ ซึ่งจะเป็นการอนุเคราะห์ให้บริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคมภายนอก โดยนำผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ไปใช้งานจริง โดยให้ได้เป็นตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพระดับคณะและภาควิชา
กรอบระยะ เวลาการดำเนินการวิจัยเพื่อออกแบบและปรับปรุงให้เสร็จสิ้นในปลายเดือน กรกฎาคม2554 พร้อมกับการศึกษาของนักศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4
การศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
เป็น การออกแบบและจัดการศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 โดยการอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการกำกับดูแลนักศึกษาของผศ.ชัยณรงค์  ร่วมกับผู้ช่วยวิจัย และครูพี่เลี้ยงช่วยสอนให้เสร็จสิ้นในปลายเดือนกรกฎาคม 2554
โดยแบ่งกรอบของการศึกษาออกเป็นส่วนตามกระบวนการเสนอแนะเพื่อออกแบบแก้ไขปรับปรุงกว้างๆดังต่อไปนี้
การเก็บข้อมูลทางกายภาพ
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์
การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์
การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ
กรอบแนวทางดำเนินการ : การเก็บข้อมูลกายภาพ
การ เก็บข้อมูลกายภาพของอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่น งานผังรวม ผังภูมิสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน งานระบบเทคนิคประกอบอาคาร
การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับงบประมาณ ระยะเวลา เกณฑ์และนโยบายที่สำคัญอื่นๆ ของผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง (ด้วยการสังเกต พูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ แบบเจาะจง)
การประเมิน ประสิทธิภาพและสมรรถนะอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่นด้านการใช้สอยโดยผู้ใช้ประเภทต่างๆ ข้อกำหนดของกฏหมายอาคาร ระบบ Leed system โดยนำปัจจัยทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญอีกครั้ง เพื่อวินิจฉัยแนวทางสรุปประสิทธิภาพที่เหมาะกับเกณฑ์และนโยบายของผู้บริหาร ให้มากที่สุด

กรอบแนวทางดำเนินการ : การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนประวัติความเป็นมาของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่งภายในที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพอาคาร
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายอาคารและเทศบัญญัติข้อกำหนดทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำนักงานและภาพลักษณ์องค์กร
การทบทวนการออกแบบปรับปรุงจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบต่างๆ
การทบทวนเทคนิคและวิธีการนำเสนอเพื่อการสื่อสารการออกแบบที่เหมาะสมกับโครงการนี้
กรอบแนวทางดำเนินการ : การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์
การ กำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบ จะได้มาจากผลรวมของการพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพอาคารและผลจากการเก็บ ข้อมูลจากการศึกษา ประกอบกับการตั้งประเด็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมจากคณะผู้ศึกษาวิจัยเป็นสำคัญ
และ นำประเด็นปัญหาการออกแบบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับกรณีศึกษาเปรียบเทียบที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

กรอบแนวทางดำเนินการ : การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์
การ สร้างสรรค์ของนักศึกษา จะถูกแบ่งออกตามความสามารถเป็นกลุ่มๆ ในการประเมินจากคณาจารย์ผู้สอนซึ่งใกล้ชิดกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายงานให้ปฏิบัติการนำเสนอผลงานออกแบบสร้างสรรค์ไปตามความความถนัด และทำได้ดี ทั้งนี้นักศึกษาทั้งรุ่นจะต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่และสามารถ หมุนเวียนผลงานช่วยกันทำได้อย่างตลอดและต่อเนื่องเพื่อให้ทันกำหนดเวลา ซึ่งเป็นลักษณะปกติในการดำเนินงานจริงในสำนักงานออกแบบอาชีพโดยทั่วไป โดยในที่นี้ถือเสมือนว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปในกิจกรรมด้วย
กรอบแนวทางดำเนินการ : การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ
ออกมาอยู่ในรูปของการนำเสนอที่ประกอบไปด้วย
แบบ ร่างด้วยการเขียนมือขั้นต้นทุกกระบวนการ การบันทึก แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการประเมินผล การสรุป ระเบียบและข้อกำหนดจากการทบทวนกฏหมายอาคารและกรณีศึกษาเปรียบเทียบ แบบร่างแบบแก้ไข แบบเสก็ตซ์ปรับปรุง หุ่นจำลองโมเดล ทำด้วยมือ
กระดานนำ เสนอขนาดเอสอง ในขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ การประมวลภาพถ่าย ถอดเทปเสียง ไฮไลท์เอกสาร ฯลฯ นำมาประกอบกันเข้าจนถึงผลลัพท์แบบร่างและหุ่นจำลองการเก็บซ่อนแก้ไขโยกย้าย งานระบบ
ไฟล์นำเสนอ ได้แก่ ไฟล์สามมิติเสก็ตซ์อัพอาคารเดิมก่อนการแก้ไขปรับปรุง และหลังการแก้ไขปรับปรุง ทัศนียภาพสามมิติ ด้วยคอมพิวเตอร์หรือเขียนมือประกอบผสมกัน
ชาร์ท บอร์ดวัสดุ อุปกรณ์ และราคาประเมินเบื้องต้น โดยความอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการจากผู้รับเหมาและซัพพลายเออร์หลายเจ้าเพื่อ เปรียบเทียบและประเมินที่ให้ความกรุณาอนุเคราะห์
วีดีโอไฟล์นำเสนอ ความคืบหน้าในการทำงานแต่ละขั้นตอน อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพของมัณฑนากรฝึกหัด


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ (อู๊ดดี้110)
ภาควิชาออกแบบภายใน  คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร   31 ถนนหน้าพระลาน
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
Asst.Prof.Chainarong Ariyaprasert.
Department of Interior Design ,
Faculty of Decorative Arts. Silpakorn University.
31 Napralan road.Pranakorn Bangkok.
10200 Thailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น