วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 15


งานวิจัย 14

การศึกษาและพัฒนาเก้าอี้พับเพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม(Study and development of folding chair for environmental conservation)


Add to database on : 26 September, 2009           การศึกษาและพัฒนาเก้าอี้เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยไว้ 3 ประการ คือ
      1. เพื่อต้องการศึกษาและพัฒนาเก้าอี้เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม

      2. เพื่อต้องการหาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการออกแบบ ด้านการผลิต และด้านวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม

      3. เพื่อต้องการหาความพึงพอใจต่อผู้ใช้ที่มีต่อเก้าอี้

      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรกลุ่มชมรมรักสุขภาพ และรักษ์ธรรมชาติ ผู้ที่อาศัยอยู่ในโครงการบ้านจัดสรร เขตมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก กทม. จำนวน 60 คน ขั้นตอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังต่อไปนี้

      ขั้นศึกษาและพัฒนา ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีของ จอห์น เอฟ.ไพล์ (John F. Pile.1972. Modern Furniture) ประยุกต์ผสมผสานร่วมกับทฤษฎีของ ชาร์ล ดี.แกนดี และซูซาน ซิมเมอร์มานสติดแฮม (Charles D. Gandy, A.S.I.D., and Susan Zimmerman - Stidham. 1984. Contemporary Classics Furniture of the Master) และกรอบแนวคิดการออกแบบเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมใช้ทฤษฎีของ ราเชล คูเปอร์ (Rachel Cooper, Theory of Green Design : The Design Agenda, 1997.)
      ขั้นพัฒนาเก้าอี้ ใช้เครื่องมือวิจัยที่ประกอบไปด้วยแบบร่างของเก้าอี้ และแบบสอบถามระดับความคิดเห็นในด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความงามของรูปทรง ด้านโครงสร้างความแข็งแรง ด้านการผลิต และด้านวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน (รวม 6 ท่าน) ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิต 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2 ท่าน
      ขั้นหาความพึงพอใจจากผู้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เก้าอี้ต้นแบบ พร้อมแบบสอบถาม นำไปให้ผู้ใช้ (จำนวน 60 คน) นั่งและประเมินหาความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
     จากการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน จำนวน 6 ท่าน ในด้านประโยชน์ใช้สอยด้านความงามของรูปทรง ด้านโครงสร้างความแข็งแรง ด้านวัสดุ ด้านการผลิต และด้านรักษ์สิงแวดล้อม เก้าอี้ มีค่าเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 3.98 ซึ่งหมายความว่า ผลการประเมินโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประเมินให้ทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับ ดี
     ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้จำนวน 60 คน ในด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านวัสดุ ด้านราคา และด้านรักษ์สิงแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งหมายความว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ พอใจมาก
ABSTRACT
     This research to study and development of Folding Chair for Environmental Conservation. To have three objectives are under considerations as
     1. To study and development Folding Chair for Environmental Conservation.
     2. To try and find out the opinions of 6 expertises are expert in design, in production, in materials with environmental conservation.
     3. To try and find out user’s satisfaction Sample group is target group 60 persons who care & love nature, most of them live in housing projects, locations are Ladkrabang, and Nongchok Bangkok.
The research methodology has three steps as
     Step I, Study and development Folding Chair was considering in Theory of Modern Furniture (John F. Pile.1972, Charles D. Gandy, A.S.I.D. & Susan Zimmerman - Stidham.1984. Contemporary Classics Furniture of the Master.) and Theory of Green Design (Rachel Cooper : The Design Agenda 1997.)
     Step II, Development for Folding Chair, Researcher created tools of research are Questionnaire and Sketch Design Folding Chair 2 designs evaluate by 6 expertises who expert in furniture design, production, materials with environmental conservation 
     Step III, To try and find out user’s satisfaction, target group was 60 persons who care & love nature, most of them live in Housing Project, locations are Ladkrabang, Miinburi Bangkok. Tools of research methodology are a prototype of Folding Chair and questionnaire. All of users test easy chair by sitting and answered questions to consider in questionnaire.
     Analysis, collected data were analyzed by SPSS program statistic tool were composed of mean, standard deviation and percentage.
     The results are :
     Six expertises evaluation Folding Chair in 6 factors were function, aesthetic form, structures, materials, mass-production and environmental conservation average 3.98 meaning is good level.
              The result of user’s satisfaction, users sixty persons evaluate in 5 factors were aesthetic, function, materials, pricing and environmental conservation average 4.29 the meaning is very satisfaction.

























งานวิจัย 13

การ พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โรงเรียนบ้านบุ่งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก : The Development of Physical Environment for Baan Boongkhe Primary School at Nongsaeng Subdistrict Parkplee District, Nakornnayok Province


Add to database on : 25 November, 2009
บทคัดย่อ
        การวิจัย เรื่อง การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โรงเรียนบ้านบุ่งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก ทำขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนในชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น มีัวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อสำรวจปัญหาของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นอยู่ของโรงเรียนบ้านบุ้งเข้ 2) เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของผู้ใช้อาคาร ได้แก่ ครู และนักเรียน  และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนนี้
        การวิจัยเริ่มจากการศึกษาและสำรวจเบื้องต้น เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยสภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้นของโรงเรียนบ้านบุ่งเข้ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อนำมาออกแบบการวิจัย มีตัวแปรของการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรอิสระ คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียน และตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้ จากนั้นจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสังเกตการณ์ ในส่วนของลักษณะทางกายภาพของสถานที่ และพฤติกรรมของนักเรียน และใช้แบบสัมภาษณ์ กับคุณครู 12 คน ในเรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้น และความต้องการต่าง ๆ แล้วจึงนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์และสรุปผล และเสนอแนะเป็นแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนบ้านบุ่ง เข้  ซึ่งจากการวิจัย ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ได้แก่
      1. การขยายห้องพักครู ให้มีโต๊ะรองรับคุณครูทุกคนและมีห้องอาจารย์ใหญ่เป็นสัดส่วน
      2. จัดลำดับห้องเรียนใหม่ให้เกิดความต่อเนื่อง โดยย้ายชั้นเรียน ป.1 ขึ้นมาอยู่ชั้นบนของอาคาร 1 และย้าย ป.6 ไปอยู่อาคาร 2 เพื่อให้ชั้นใต้ถุนที่ไม่เหมาะแก่การเป็นห้องเรียนสามารถเปิดเป็นพื้นที่ โล่งอเนกประสงค์ได้
      3. ย้ายห้องสมุดจากอาคาร 2 มาอยู่ใต้ถุนห้องพักครู เพื่อให้สามารถดูแลได้ทั่วถึง และอยู่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมนักเรียน
      4. จัดวางตำแหน่งห้องกิจกรรมของทั้ง 2 อาคารเรียน เช่น ห้องพยาบาล, ห้องเกษตร, ห้องสหกรณ์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับกิจกรรม เพื่อการใช้งานที่เกิดประโยชน์มากขึ้น
      5. ขยายและปรับตำแหน่งโรงอาหาร เพื่อรองรับนักเรียนได้มากขึ้น และเผื่อการขยายเป็นอาคาร 2 ชั้นในอนาคต เพื่อทำเป็นห้องสมุดถาวร
      6. เสนอแนะรายละเอียดอื่น ๆ เช่น การตกแต่งถังเก็บน้ำฝนให้สวยงามและเพิ่มประโยชน์ใช้สอย, การทำรางน้ำฝน, การปลูกต้นไม้เพิ่ม เป็นต้น
       ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะนำมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่โรงเรียน บ้านบุ่งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก และเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อไปศึกษาพัฒนาโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด สปช. อันเป็นผลใก้การจัดการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่ดีึขึ้น

งานวิจัย 12

การ ศึกษาโครงสีในงานจิตรกรรมและการตกแต่งที่มีผลต่องานสถาปัตยกรรมภายใน ( กรณีศึกษา วัดในจังหวัดขอนแก่น) : The Study of Color Scheme of Mural Painting and Decoration in Interior Architecture (Case study Temples in Khonkaen)http://161.246.17.11/09/research/?p=94


Add to database on : 26 November, 2009

บทคัดย่อ
           การทำวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสีในงานจิตรกรรมและการตกแต่งที่มีผลต่องานสถาปัตยกรรมภายใน (กรณีศึกษา วัดในจังหวัดขอนแก่น)  เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจและนักศึกษา สามารถนำข้อมูลที่ศึกษานี้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป  งาน วิจัยนี้มีตัวอย่างของการตกแต่งภายในวัดที่จังหวัดขอนแก่นที่เป็นวัดสำคัญ และยังคงมีภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่า ผู้ทำวิจัยจึงเน้นเรื่องโครงสี และเปรียบเทียบลักษณะการตกแต่งของวัด 3 วัด
ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่า
-     รูปแบบของสิมอีสาน  มีขนาดเล็ก อาจเนื่องจากงบประมาณในการสร้าง  รวม ถึงวิถีชีวิตของคนอีสานที่ไม่ต้องการอะไรใหญ่โตหรือฟุ่มเฟือย มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และการสร้างสิมใช้วิธีอาศัยความร่วมมือร่วมแรงของชาวบ้าน ใช้ช่างพื้นถิ่น  ใครมีวัสดุอะไรก็ช่วยกันหาหรือบริจาค และใช้ช่างพื้นถิ่น   
-      ภาพฮูปแต้มอีสานเป็นงานที่มีลักษณะพื้นถิ่นที่มีคุณค่าซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวอีสานได้อย่างสมบูรณ์   ลักษณะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตเห็นได้จากงานประเพณีต่างๆ, การแต่งกาย, การ ละเล่น ซึ่งช่างแต้มได้สอดแทรกไว้ในภาพในช่วงเวลาที่เขียนนั้น และปัจจุบันเป็นหลักฐานการบันทึกประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้มีคุณค่ามาก
            สำหรับโครงสีที่ศึกษาได้ ผู้วิจัยพยายามให้ได้โครงสีใกล้เคียงที่สุดโดยเทียบสีกับสถานที่จริง โดยใช้แผ่นเทียบสี Pantone สำหรับการพิมพ์ใช้หมวด YMCK และนำมาผสมตัวสีในเครื่องคอมพิวเตอร์     ถ้าสีที่พิมพ์ออกมาเพี้ยนไปบ้างจากระบบการพิมพ์        ผู้ที่ต้องการเห็นสีที่ใกล้เคียงของจริงสามารถผสมเองได้ตามรหัสสีที่ให้ไว้ในงานวิจัย   หวังว่างานวิจัยนี้คงเป็นแนวทางให้ผู้ที่ต้องการตกแต่งภายในลักษณะที่มีความเป็นอีสาน      สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป  

Abstract

            This research on the color scheme of Mural Paintings and Decorations in Interior Architecture (Case Study : Temples in Khonkaen) is to provide data for students and interested persons for future practical application.  This research shows the decorations and the color schemes in some important temples in the Khonkaen which have significant mural paintings.
            The results of the research show that
-      The  temple(Sim) in E-Sarn are small. It’s up to the cost of the building and the way of E-Sarn  people that have sufficient life style.When they built Sim they help each other to find the materials and used the skill of the people in their villages.
-      In E-Sarn  mural painting  is great value of folk art.It reflects a perfect characteristic of life from this part of the land. The characteristic of northeast folk’s life cycle can be seen in traditional events,costumes,games and implements in time of the painter.Now these are trustworthy historical evidences.
            In this research, the researcher uses Pantone Color chart to match the colors at the site and uses YMCK mode to mix colors in computer.  Interested persons can reproduce the colors by using the code given in this research to obtain the closest actual colors study of this study.  It is hoped that this research can serve those who wish to do interior decorations in the E -Sarn traditional style.



งานวิจัย 11

การวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจกรรมการใช้พื้นที่บ้านพักอาศัย : Comparative  Analysis  of Activity in house.

Add to database on : 11 December, 2009
บทคัดย่อ
       ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้วิถีทางการใช้พื้นที่ภายในบ้านมีความ แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของกิจกรรมและพฤติกรรมของผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่ย่อย ของบ้านหรือความแตกต่างจากความต่างกันของบริบทของบ้าน หรือความแตกต่างของบริบทผู้ใช้ ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของบ้านที่ถูกออกแบบภายใต้ เกณฑ์การออกแบบหรือแนวทางการออกแบบที่เป็นมาตรฐานสากลไม่สามารถตอบสนองการ ใช้งานหรือพฤติกรรมคนไทยได้ดีเท่าที่ควร การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับประเภทและขนาดของ พื้นที่กิจกรรมย่อยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 5 กิจกรรมหลักภายในบ้าน โดยเน้นการค้นหาชนิด ขนาด และความสัมพันธ์ระหว่างกันของเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประกอบพฤติกรรมใน พื้นที่กิจกรรมย่อยต่าง ๆ เพื่อสรุปเป็นแนวทางในการจัดวางพื้นที่ภายในบ้านที่สอดคล้องกับพฤติกรรมคน ไทย  โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจกรรมการใช้พื้นที่ 5 กิจกรรมหลักภายในบ้านพักอาศัยของนักศึกษาภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน 40 ตัวอย่าง  โดยใ้ห้นักศึกษาทำการสังเกตพฤติกรรมการใช้พื้นที่และทำการเก็บข้อมูลสภาพแวด ล้อมทางกายภาพภายในบ้านพักอาศัยตนเอง  และผู้วิจัยนำผลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปเป็นค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าความสัมพันธ์โดยใช้ค่าความสัมพันธ์ที่มีระดับมากที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป  และค่าความสัมพันธ์ที่ระดับปานกลางร้อยละ 20-49 และ สรุปผลเป็นความต้องการของขนาดพื้นที่ (Area requirement) ของแต่ละพื้นที่ย่อยและ 5 พื้นที่หลักด้วยวิธีการทำโปรแกรมการออกแบบ
      จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ใช้สอยที่มีความสอดคล้องกับกิจกรรมและพฤติกรรมใน ขนาดที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานภายในบ้านของคนไทยประกอบด้วย ห้องครัวขนาด 7.25-15.25 ตร.ม. ห้องรับประทานอาหารขนาด 3.33-12.73 ตร.ม. ห้องรับแขก 6.26-11.64 ตร.ม. ห้องนั่งเล่นขนาด 7.27-15.24 ตร.ม. ห้องน้ำหรือห้องส้วม 2 ห้องขนาด 3.20-3.96 ตร.ม. ห้องนอนใหญ่ 1ห้องขนาด 9.62-25.40 ตร.ม. หรือ 11.51-31.75 ตร.ม. และห้องนอนเล็กอีก 2 ห้องขนาด 10.13-26.49 ตร.ม. และ 7.37-20.94 ตร.ม. ผลสรุปของขนาดพื้นที่และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ถูกจัดวางรวมใน 5 พื้นที่หลักได้เป็น 2 แนวทาง  โดยบ้านขนาดเล็กที่สุดต้องการพื้นที่ประมาณ 61.15-77.38  ตร.ม. และบ้านที่มีขนาดพื้นที่ที่กำลังพอดีกับความสะดวกสบาย คือ 141.75-184.55 ตร.ม. อย่างไรก็ตามวิจัยนี้มีประเด็นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ทั้งขนาดกลุ่มตัวอย่าง บริบทบ้านกับสถานภาพของบุคคล และรายละเอียดพฤติกรรมที่เจาะลึก
Abstract
      Because of the variety of social and culture effect the way of life in houses are different, especially the difference of human activity and behavior in several areas in the houses and the difference of several contexts of houses and users. These problems make the physical environment in houses that design from the standard criteria of guideline are not practical for Thai people. The objective of this study is to define the type and size of sub-activity areas in 5 main areas of Thai people houses, by finding the type, size and relationship of furniture and equipemnts in sub-activity areas. And conclude them as a house’s floor plan guideline that appropriate for Thai people. The research method is activities comparison analysis in 40 student houses (Interior Architecture Division, Architecture Faculty, King Mongkut’s Institute of Technology, Ladkrabang). The students collected physical environment, activities and behavior in their houses by observation methods. The result of analysis is means, frequency and the value of relationship at the high level (50% up) and moderate level (20%-49%). The solution is the area requirements of each sub-activity areas and 5 main areas in house by use desgin programming technique to summarize.
     The findings indicate that the size of areas in appropriate with activities and behavior in kitchen is 7.25-15.25 sq.m., dining room is 3.33-12.73 sq.m., living area is 6.26-11.64 sq.m., family room 7.27-15.24 sq.m., bathroom or toilet is 3.20-3.96 sq.m., master bed room is 9.26-25.40 sq.m., or 11.51-31.75 sq.m., another two bed rooms are 10.13-26.49 sq.m., and 7.37-20.94 sq.m. The area requirement have concluded two sizes, for small house is 61.15-77.38 sq.m. and the appropriate size is 141.75-184.55 sq.m. There is argument on this study because the examples have not enough and the type of houses should be related with context of user and concerned in-depth behavior.

งานวิจัย 10

สภาวะความสบายจากการใช้พัดลมโคจร  กระจายความเย็นเพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ กรณีศึกษาอาคารเรียนรวม  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.

Add to database on : 16 February, 2010
บทคัดย่อ
        การเปิดพัดลมช่วยในการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของอากาศ  โดยที่เป็นอากาศเย็นจากการที่เปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้สภาวะความรู้สึก ของผู้ใช้รู้สึกว่าอากาศเย็นสบายพอเหมาะโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เครื่องปรับ อากาศทำความเย็นลงมาที่อุณหภูมิประมาณ 25 องศาหรือต่ำกว่าผลที่ได้คือคอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานน้อยลง  ทำให้เพิ่มอายุการใช้งานและเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า  การวิจัยนี้เป็นการหาระดับความเย็นและความเร็วลมที่เหมาะสมที่สร้างความ รู้สึกสภาวะความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) ต่อกิจกรรมการนั่งเรียนหรือฟังบรรยาย และเปรียบเทียบหาอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพียงอย่างเดียวกับการเปิดเครื่องปรับอากาศร่วมกับพัดลม
        จากการวิจัยพบว่าการตั้งระดับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 27 - 28 องศาเซลเซียส และเปิดพัดลมโคจรติดฝ้าเพดาน ระดับความเร็วลมเฉลี่ยระหว่าง 0.44-0.62 เมตรต่อวินาทีหรือระดับความเร็วลมเฉลี่ยของพัดลมโคจรติดเพดานทั้ง 3 ระดับ  ให้เกิดกระแสลมพัดผ่านผิวกายก็จะทำให้เกิดความรู้สึกเย็นสบายขึ้น  ทำให้ไม่ต้องปรับตั้งระดับอุณหภูมิที่ต่ำกว่า  เป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าเปิดเพียงเครื่องปรับอากาศแต่เพียง อย่างเดียวที่ตั้งระดับอุณหภูมิต่ำ ๆ  ซึ่งเมื่อนำหลักการดังกล่าวมาใ้ช้กับห้องเรียนหรือห้องบรรยาย  สำหรับห้องเรียนที่ติดเครื่องปรับอากาศ  ก็จะทำให้สามารถประหยัดการใช้พลังงานลงได้  คือที่ระดับอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส  จะประหยัดการใ้ช้พลังงานไฟฟ้าลง 12.88 เปอร์เซ็นต์  และที่ระดับอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ก็จะประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 18.84 เปอร์เซ็นต์
Abstract
       In order to reduce air conditioner energy consumption, the combined system between an electric fan and an air conditioner could be apply to lower the cooling load of the air conditioner. The additional air movement from electric fans also affects human thermal comfort especiaily when the air is cooled, consequently, there is no need to set the air conditioner to cool the environment at typical level - like 25 celsius.
      The aims of this research are 1) to examine the optimization of the electric fan’s air speed and the air conditioner’s cooling level–in term of degree Celsius–to provide thermal comfort in classroom condition 2) to compare the energy consumption between conventional air conditioner system and the electric-fan-and-air-conditioner-combined system.
      The research found that if the ceiling circulated electric fan provided the air speed at.0.44-0.62 m/s, the cooling level of the air conditioner in the combined system could be set to 27-28 Celsius to gain thermal comfort. Consequently, when compare to cooling level of conventional air conditioner system, the electric-fan-and-air-conditioner-combined system consumed less energy than did the conventional air conditioner system.
      These results can apply to reduce energy consumption in air-conditioned classrooms. That is, if the air conditioner of the combined system is set to 27 Celsius, the energy will be saved to 12.88 percent. On the one hand, if it is set to 28 Celsius, the power energy will eventually be saved up to 18.84 percent.

งานวิจัย 9



 
 
โครงการ วิจัยเพื่อการแก้ไขปรับปรุงภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรมและตกแต่งภายในหมู่เรือนไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี  ผ.ศ.ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
ที่มาของปัญหา
เรือน หมู่ทรงไทยชุดนี้เป็นการรวบรวมเอาเรือนไทยจำนวน 4 หลัง จากหลายสมัยเข้าด้วยกัน เพื่อจัดสร้างเป็นบ้านพักผ่อนของบิดา มารดาของผู้บริหารระดับสูงบริษัทเสาไห้ไรซ์มิลล์
เป็นเรือนชุดอยู่บริเวณลานตากข้าวด้านหน้าโรงสี อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี ซึ่งอุณหภูมิสูงมากจากลานซีเมนต์ ที่คายความร้อนช้า
ต้องการให้ปรับปรุงโดยให้ใช้งานตามประโยชน์ใช้สอยปัจจุบันได้จริง โดยให้คงลักษณะเดิมมากที่สุด
ความต้องการเบื้องต้น
เรือน ซ้ายเป็นเรือนพระ เรือนกลางและเรือนขวา เป็นห้องบิดาและมารดาตามลำดับ ภายในมีห้องน้ำและส่วนแต่งตัวต่อเนื่องกัน(ทั้งสามห้องมีระบบปรับอากาศ)
ชานกลางมี”หอนก”สำหรับสังสันทน์พักผ่อนโดยให้ยกพื้นเจาะช่องระบายอากาศและให้แสงสว่างที่ใต้ถุน
ด้านหลังมีเรือนครัว ใต้ถุนสำหรับจัดงานได้ โดยมีห้องน้ำ ห้องเก็บของ สวนร่มรื่น สระน้ำ เพื่อสวยงามและระบายความร้อน
แบบผังร่างโดยนายช่างปรุงเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แบบร่างส่วนสัด ณ หน้างาน โดยผ.ศ.ชัยณรงค์
ที่จะดำเนินการต่อไป
ร่างแปลนผังการใช้งานและทัศนียภาพในเรือนไทย
ร่างทัศนียภาพมุมต่างๆและมุมโดยรวมของอาคาร
ขึ้นทัศนียภาพด้วยคอมพิวเตอร์สามมิติ
เขียนแบบและทัศนียภาพในแต่ละส่วนงานให้ช่างปรุงเรือนดำเนินการ
เขียนแบบและทัศนียภาพให้ช่างต่อเติมและงานสวน
เขียนแบบตกแต่งภายในเพื่อให้ช่างตกแต่งภายใน

งานวิจัย 8


โครงการวิจัยเพื่อออกแบบปรับปรุงการตกแต่งภายในอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
โดยความร่วมมือทางวิชาการจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
บันทึกความเข้าใจขั้นต้นก่อนจัดทำข้อเสนอการวิจัย
ทาง ศูนย์ฯ โดยคุณตุ๋ยได้ทำหนังสือมาถึงคณะขอเชิญผศ.ชัยณรงค์ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานต่อเนื่องจากการขอคำปรึกษาในขั้นต้นเมื่อ ต้นปี2553 ที่ผ่านมา
ผศ.ชัยณรงค์ ได้ขอเข้าพบผู้อำนวยการศูนย์เพื่อขอคำปรึกษาและทราบรายละเอียดเบื้องต้น สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไปเมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2554
ทางผู้ อำนวยการคุณตุ๋ยและอาจารย์เอ๋ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องกรอบและแนวทางจัดการดำเนินการซึ่งสรุปได้ ว่าเป็นการออกแบบเร่งด่วนและงานออกแบบภาพรวมของพื้นที่ใช้งานในปัจจุบัน สำหรับผู้บริการและคณะกรรมการพิจารณาต่อไป
บทสรุปผู้บริหาร : ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ให้ ดำเนินการออกแบบปรับปรุงพื้นที่หลักสองส่วนได้แก่ส่วนต้อนรับและประชุมส่วน หน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4 โดยให้จัดทำแบบและดำเนินการตกแต่งพื้นที่ดังกล่าวให้ผู้ใช้งานอาคาร
ให้ ดำเนินการศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรโดยจัดทำข้อสรุปเป็น แบบร่างขั้นกลางสำหรับนำเสนอที่ประชุมผู้บริหารและกรรมการฝ่ายต่างๆเพื่อ พิจารณา
โดยทั้งสองส่วนนี้ จะขอความอนุเคราะห์ให้จัดทำดำเนินการเป็นการศึกษาวิจัยและออกแบบปรับปรุงใน รายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 ของนักศึกษาภาควิชาออกแบบภายในชั้นปีที่3 (ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม2554ระยะเวลา 8 สัปดาห์)

การออกแบบตกแต่งภายในส่วนต้อนรับและประชุมส่วนหน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4
โดย การอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการให้เสร็จสิ้นของผศ.ชัยณรงค์ ซึ่งจะเป็นการอนุเคราะห์ให้บริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคมภายนอก โดยนำผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ไปใช้งานจริง โดยให้ได้เป็นตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพระดับคณะและภาควิชา
กรอบระยะ เวลาการดำเนินการวิจัยเพื่อออกแบบและปรับปรุงให้เสร็จสิ้นในปลายเดือน กรกฎาคม2554 พร้อมกับการศึกษาของนักศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4
การศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
เป็น การออกแบบและจัดการศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 โดยการอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการกำกับดูแลนักศึกษาของผศ.ชัยณรงค์  ร่วมกับผู้ช่วยวิจัย และครูพี่เลี้ยงช่วยสอนให้เสร็จสิ้นในปลายเดือนกรกฎาคม 2554
โดยแบ่งกรอบของการศึกษาออกเป็นส่วนตามกระบวนการเสนอแนะเพื่อออกแบบแก้ไขปรับปรุงกว้างๆดังต่อไปนี้
การเก็บข้อมูลทางกายภาพ
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์
การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์
การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ
กรอบแนวทางดำเนินการ : การเก็บข้อมูลกายภาพ
การ เก็บข้อมูลกายภาพของอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่น งานผังรวม ผังภูมิสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน งานระบบเทคนิคประกอบอาคาร
การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับงบประมาณ ระยะเวลา เกณฑ์และนโยบายที่สำคัญอื่นๆ ของผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง (ด้วยการสังเกต พูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ แบบเจาะจง)
การประเมิน ประสิทธิภาพและสมรรถนะอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่นด้านการใช้สอยโดยผู้ใช้ประเภทต่างๆ ข้อกำหนดของกฏหมายอาคาร ระบบ Leed system โดยนำปัจจัยทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญอีกครั้ง เพื่อวินิจฉัยแนวทางสรุปประสิทธิภาพที่เหมาะกับเกณฑ์และนโยบายของผู้บริหาร ให้มากที่สุด

กรอบแนวทางดำเนินการ : การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนประวัติความเป็นมาของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่งภายในที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพอาคาร
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายอาคารและเทศบัญญัติข้อกำหนดทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำนักงานและภาพลักษณ์องค์กร
การทบทวนการออกแบบปรับปรุงจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบต่างๆ
การทบทวนเทคนิคและวิธีการนำเสนอเพื่อการสื่อสารการออกแบบที่เหมาะสมกับโครงการนี้
กรอบแนวทางดำเนินการ : การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์
การ กำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบ จะได้มาจากผลรวมของการพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพอาคารและผลจากการเก็บ ข้อมูลจากการศึกษา ประกอบกับการตั้งประเด็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมจากคณะผู้ศึกษาวิจัยเป็นสำคัญ
และ นำประเด็นปัญหาการออกแบบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับกรณีศึกษาเปรียบเทียบที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

กรอบแนวทางดำเนินการ : การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์
การ สร้างสรรค์ของนักศึกษา จะถูกแบ่งออกตามความสามารถเป็นกลุ่มๆ ในการประเมินจากคณาจารย์ผู้สอนซึ่งใกล้ชิดกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายงานให้ปฏิบัติการนำเสนอผลงานออกแบบสร้างสรรค์ไปตามความความถนัด และทำได้ดี ทั้งนี้นักศึกษาทั้งรุ่นจะต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่และสามารถ หมุนเวียนผลงานช่วยกันทำได้อย่างตลอดและต่อเนื่องเพื่อให้ทันกำหนดเวลา ซึ่งเป็นลักษณะปกติในการดำเนินงานจริงในสำนักงานออกแบบอาชีพโดยทั่วไป โดยในที่นี้ถือเสมือนว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปในกิจกรรมด้วย
กรอบแนวทางดำเนินการ : การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ
ออกมาอยู่ในรูปของการนำเสนอที่ประกอบไปด้วย
แบบ ร่างด้วยการเขียนมือขั้นต้นทุกกระบวนการ การบันทึก แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการประเมินผล การสรุป ระเบียบและข้อกำหนดจากการทบทวนกฏหมายอาคารและกรณีศึกษาเปรียบเทียบ แบบร่างแบบแก้ไข แบบเสก็ตซ์ปรับปรุง หุ่นจำลองโมเดล ทำด้วยมือ
กระดานนำ เสนอขนาดเอสอง ในขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ การประมวลภาพถ่าย ถอดเทปเสียง ไฮไลท์เอกสาร ฯลฯ นำมาประกอบกันเข้าจนถึงผลลัพท์แบบร่างและหุ่นจำลองการเก็บซ่อนแก้ไขโยกย้าย งานระบบ
ไฟล์นำเสนอ ได้แก่ ไฟล์สามมิติเสก็ตซ์อัพอาคารเดิมก่อนการแก้ไขปรับปรุง และหลังการแก้ไขปรับปรุง ทัศนียภาพสามมิติ ด้วยคอมพิวเตอร์หรือเขียนมือประกอบผสมกัน
ชาร์ท บอร์ดวัสดุ อุปกรณ์ และราคาประเมินเบื้องต้น โดยความอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการจากผู้รับเหมาและซัพพลายเออร์หลายเจ้าเพื่อ เปรียบเทียบและประเมินที่ให้ความกรุณาอนุเคราะห์
วีดีโอไฟล์นำเสนอ ความคืบหน้าในการทำงานแต่ละขั้นตอน อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพของมัณฑนากรฝึกหัด


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ (อู๊ดดี้110)
ภาควิชาออกแบบภายใน  คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร   31 ถนนหน้าพระลาน
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
Asst.Prof.Chainarong Ariyaprasert.
Department of Interior Design ,
Faculty of Decorative Arts. Silpakorn University.
31 Napralan road.Pranakorn Bangkok.
10200 Thailand

งานวิจัย 7

การออกเเบบสภาพเเวดล้อมในสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและการออกเเบบเพื่อคนพิการ
โดย :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ต.อ. ดร.อนุชา  เเพ่งเกสร(หัวหน้าคณะ), ดร. ณตา  ทับทิมจรูญ และนายวุฒิ คงรักษา 
วันที่เผยเเพร่ : 0 00 2554
บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา (1) ปัญหาและอุปสรรคจากความพิการที่มีผลต่อวิถีชีวิตของคนพิการ และในการศึกษาด้านศิลปะและการออกแบบ (2) การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและการออก แบบให้คนพิการสามารถเข้าถึงการคมนาคม อาคารสถานที่บริการสาธารณะและข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี โดยใช้ (ก) การวิจัยเชิงปริมาณ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับคนพิการ ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในสถาบันที่มีการเรียนการสอนสำหรับคนพิการ จำนวน 9 สถาบัน ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองและ (ข) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (1) ผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 8 ราย (2) ครู อาจารย์ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 14 ราย และ (3) นิสิต นักศึกษาที่มีความพิการ ในสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและการออกแบบ จำนวน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 27 ราย โดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti มาสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์

          ในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา (descriptive statistics/frequency) เพื่อชี้แจงลักษณะของตัวแปรทุกตัวหรือมาตรวัดทุกมาตรวัดที่ใช้ในงานวิจัย ครั้งนี้

          ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้พิการที่สามารถเข้าศึกษาด้านศิลปะและการออกแบบได้ คือ ผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหวและผู้พิการทางด้านการได้ยินทั้งที่สามารถพูด ได้ และพูดไม่ได้เท่านั้น แต่สำหรับคณะวิชาอื่น ๆ ที่เปิดสอนสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น จะมีปัญหาและอุปสรรค์ที่แตกต่างซึ่งสามารถนำแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภาย ในครั้งนี้ ไปปรับใช้กับอาคารสถานที่ของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้

          ส่วนการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและ การออกแบบสำหรับคนพิการ ต้องให้ความสำคัญโดยครอบคลุมใน 4 มิติ ซึ่งประกอบด้วย 1) เข้าถึงคมนาคม 2) อาคารสถานที่ 3) บริการสาธารณะ 4) ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสำหรับคนพิการ

Abstract

          This research aimed at investigating (1) opportunities and problems threats of disabled persons in arts and design academy, and (2) the interior environment design for disabled persons in arts and design academy. The 9 academy samples in Thailand participated in the survey. They were asked to complete the questionnaires. Eight academy head, 14 selected professors, teachers, officers, and 5 students were selected to be in-depth interviewed. The methods of data analysis consist of descriptive statistics/frequency.

          The results of analysis showed that: (1) the acceptable of arts and design course is possible for the deaf and wheelchair user only, but for the visually impaired have to arrange with case by case, and (2) the 4 factors of better interior environment design and realities for disabled persons in arts and design academy are (a) accessibility, (b) building facility, (c) public service, and (d) technology and information for disabled persons.

ภาพผลงาน
 
 
ที่มา

อนุชา แพ่งเกษร และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การออก แบบสภาพแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและการออกแบบเพื่อคนพิการ (The Interior Environment Design for Disabled persons in Arts and Design Academy). มหาวิทยาลัยศิลปากร : สถาบันวิจัยและพัฒนา, 2553.

งานวิจัย 6

งานวิจัยโครงการออกแบบบ้านเคหะชนบทบูรณาการภาคเหนือ

ความ สำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทเรือนพักอาศัยของภาคเหนือ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ สอดคล้องกับ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วิถีชีวิต และสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เรือนพักอาศัยในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัย มีลักษณะวัสดุและการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประกอบเป็นรูปแบบที่ผ่านการพิจารณา ดัดแปลง ปรับเปลี่ยนที่สืบทอด พัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานด้วยวิธีการทางประเพณี
ทำ ให้ผู้อาศัยอยู่อย่างสะดวกสบายสอดคล้องกับวิถีชีวิต แต่ในปัจจุบันพบว่าที่อยู่อาศัยชนบท ได้รับผลกระทบปัญหาเกิดจากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม ได้เปลี่ยนแปลงไปมากและรวดเร็วในหลายๆด้าน เช่น วัสดุและช่างก่อสร้าง วิถีชีวิต ความทันสมัย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารและคมนาคม ทำให้ชาวชนบทส่วนหนึ่งได้พบเห็นรูปแบบบ้านพักอาศัยที่เป็นแบบสมัยนิยมเหมาะ สำหรับในเมือง ที่มีภูมิอากาศและบริบทที่เกี่ยว ข้องแตกต่างกัน นำไปดัดแปลงใช้สร้างเป็นที่อยู่อาศัยชนบท เกิดขึ้นจากการมองเห็นแล้วลอกเลียนแบบแบบฉาบฉวย เพราะคิดว่าเป็นความทันสมัยและใช้เป็นเครื่องวัดความเจริญ โดยเฉพาะการลอกเลียนแบบบ้านพักอาศัยหมู่บ้านจัดสรรในเมือง ซึ่งมีรูปแบบที่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขหลายประการ โดยมีเหตุผลสำคัญของการออกแบบได้แก่ กระแสนิยม รสนิยม และธุรกิจ ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของการตลาด รวมถึงลักษณะกายภาพของแปลงที่ดิน สภาพแวดล้อม กฎระเบียบ สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากพื้นฐานของการอยู่อาศัยในชนบท อันเป็นผลให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้ตอบสนองการอยู่อาศัย อย่างเต็มที่ ไม่ได้เกิดพัฒนาการที่อยู่อาศัยแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นชนบทในอดีต นอกจากนี้ปัญหาอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความเข้าใจเรื่องแบบแผนการสร้าง บ้านพักอาศัย ไม่สามารถหาที่ปรึกษาหรือผู้ออกแบบที่เหมาะสมได้ เมื่อจะสร้างบ้านก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างรับเหมาหรือช่างก่อสร้าง ทั้งการออกแบบและก่อสร้าง ซึ่งมักจะสร้างไปตามความถนัดของตนเองหรือราคาค่าก่อสร้าง เป็นข้อคำนึงสำคัญ ทำให้ชาวชนบทเหล่านี้ได้รับบ้านเรือนที่ไม่ตอบสนองกับวิถีชีวิตและสิ่งแวด ล้อมอย่างเหมาะสม
ตลอดจนคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ขาดหายไป อย่างไรก็ตามชาวชนบทยังคงต้องการที่อยู่อาศัยแบบชาวเมืองอยู่    การเคหะ แห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการตอบสนองรสนิยมและความต้องการแบบบ้านทันสมัยที่ เหมาะสมสำหรับชาวชนบท ด้วยการวิจัยเกี่ยวกับแบบบ้านที่เหมาะสมกับชาวชนบทในแต่ละพื้นที่ ด้วยต้นแบบและแบบก่อสร้างพร้อมแบบต่อเติมอาคาร เมื่อครอบครัวขยาย โดยผสานคุณค่าด้านการใช้วัสดุ รูปแบบการอยู่อาศัย และอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้อย่างสมดุล ตลอดจนคำนึงถึงการใช้สอยสำหรับทุกเพศทุกวัย คนพิการ และการออกแบบให้ลดปัญหาโลกร้อน
           ด้วยเหตุผลดังกล่าวการศึกษาวิจัย โครงการศึกษาแบบบ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ (ภาคเหนือ) จึง เกิดขึ้นเพื่อจัดเตรียมแบบก่อสร้างบ้านต้นแบบมาตรฐาน เพื่อใช้ เป็นแบบบ้านทางเลือกของชาวชนบทที่ต้องการสร้างบ้านที่เหมาะสมกับการอยู่ อาศัยในบริบทของชนบท เป็นบริการไม่คิดมูลค่าของการเคหะแห่งชาติเพื่อเผยแพร่ผ่านทางองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ฯลฯ ให้เป็นแบบบ้านสำเร็จรูปสำหรับปลูกสร้างได้ทันที โดยผู้สนใจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างสถาปนิก วิศวกรมาทำการออกแบบบ้านอีก นอกจากนี้ข้อมูลการวิจัยที่ได้จากการสำรวจ ศึกษารวบรวม การระดมความเห็นจากผู้ใช้ในชนบท ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนต่างๆ ยังจะสามารถใช้ฐานข้อมูลด้านเคหะชนบทของภาคเหนือและประเทศไทย เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา การพัฒนาชนบท และอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สร้างความยั่งยืนของประเทศต่อไป
สาขา สถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นองค์กรประเภทสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจด้านการให้การศึกษาสถาปัตยกรรม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ มีบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านงานสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนา สถาปัตยกรรมภายใน และผังเมือง ตลอดจนบุคลากรภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ ที่ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่สาขาสถาปัตยกรรม ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านอื่นๆที่ร่วมเป็นเครือข่ายให้ข้อมูลวิชาการ อีกทั้งในปี 2551 ได้ก่อตั้งหน่วยงานวิจัยกลุ่ม การออกแบบและวางแผนอย่างยั่ง (SUSTAINABLE DESIGN AND PLANNING: SDP) ซึ่ง เป็นประโยชน์ต่อโครงการศึกษาวิจัยนี้ ดังนั้นสาขาสถาปัตยกรรมจึงขอเสนอตัวเข้าร่วมดำเนินโครงการศึกษาวิจัย ในโครงการศึกษาแบบบ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ (ภาคเหนือ) ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อศึกษาพัฒนาชนบทด้านการเคหะ อันเป็นภารกิจหลักขององค์กรทั้งสอง

คณะผู้ดำเนินการวิจัย
1. . ดร. กาญจน์ นทีวุฒิกุล                               หัวหน้าโครงการวิจัย, และนักวิจัย
ด้านสถาปัตยกรรมภายใน เศรษฐศาสตร์และผังเมือง
2. . จุลทัศน์ กิตติบุตร                                        ที่ปรึกษา
3. . อภิชาติ  ศรีอรุณ                                          ที่ปรึกษา
4. . จุไรพร ตุมพสุวรรณ                                   เลขานุการ และนักวิจัยสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีอาคาร
5. . สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี                                   นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
6. . สุพล ปวราจารย์                                          นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
7. . วีรพจน์ การคนซื่อ                                      นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
8. . สุรกานต์ จันทรวงค์                                    นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมภายในและสภาพแวดล้อมภายใน
9.  . พงษ์สิน ทวีเพชร                                       นักวิจัยด้านผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม                     
10.  ..นิภาพร แสนสุภา                                ผู้ช่วยนักวิจัย
11. น.ส. ศุภางค์กร พนมฤทธิ์                        ผู้ช่วยนักวิจัย
ขอขอบคุณ
คณะทำงานจากการเคหะแห่งชาติ
ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
นายนิรุจ เจียมจรรยงค์ รองผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
คณะฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัยการเคหะแห่งชาติ
คุณสุพัตรา นาคาศัย
คุณอุไรวรรณ
คุณสุขุมาภรณ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
อ.ชัยยง เอื้อวิริยานุกุล อธิการบดี มทร.ล้านนา
สถาบันวิจัยและพัฒนา
คณบดี คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา

งานวิจัย 5

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอาคาร การตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตย์ สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ
โดย อาจารย์จารุณีย์ นิมิตศิริวัฒน์  (อาจารย์ผู้ควบคุม)

              เพื่อให้ได้แนวทางการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมตัวอาคารของสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รูปแบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การตกแต่งภายในตัวอาคาร การปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ เพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิต รูปแบบการทำงานของคนทำงาน การรับบริการ และได้แบบอาคารสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดการให้ บริการสุขภาพแบบองค์รวมและระบบนิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น

หลักการและเหตุผล
       ปัจจุบันสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือศูนย์สุขภาพชุมชนมีอยู่จำนวนประมาณกว่าหนึ่งหมื่นแห่ง แบบแปลนที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสถานบริการสุขภาพเป็นแบบมาตรฐานเดียวซึ่ง ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อมาปรับปรุงใหม่อีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์อยู่ไม่น้อย ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ (๑) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากสถานีอนามัยเดิม ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่ใช้พื้นที่ชั้นบนในการให้บริการประชาชน ทำให้การเดินขึ้น ลงเกิดความยากลำบากต่อผู้รับบริการ (๒) แบบแผนความเจ็บป่วยและโรคที่เปลี่ยนแปลงไป การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลรักษาต่อเนื่องและผสมผสาน และ(๓)แนวคิดการจัดบริการสุขภาพที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเน้นหัวใจของระบบบริการปฐมภูมิที่การดูแลอย่างเป็นองค์รวมครบทั้ง ๔ มิติ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ การดูแลทั้งครอบครัวและชุมชน ตลอดจนการดูแลที่เข้าใจมิติทางสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่น ด้วยเหตุผลทั้ง ๓ ประการข้างต้น ทำให้แบบแปลนและการออกแบบอาคารสถานบริการสุขภาพรูปแบบเดิม ไม่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ทิศทางระบบสุขภาพในปัจจุบัน
        การออกแบบระบบบริการสุขภาพ (Health Care Design) ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะประเด็นเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบการให้บริการ หรือการพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ หากการออกแบบตัวอาคาร การตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตย์ที่สอดคล้องกับแนวคิดสำคัญของระบบบริการสุขภาพก็มีความสำคัญ เพราะเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและพัฒนาองค์ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในเรื่องของสถาปัตยกรรม และการเยียยวยาฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย
         การพัฒนาและออกแบบปรับปรุงตัวอาคารสถานบริการสุขภาพ พื้นที่ใช้สอย และภูมิสถาปัตย์ ทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพที่มีลักษณะครอบคลุมทั้งการดูแล รักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ ที่สำคัญเอื้อต่อการดูแลสุขภาพของคนทั้งครอบครัว (Family oriented) ในเวลาที่มาใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของระบบบริการปฐมภูมิที่สำคัญยิ่ง สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ตระหนักเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอาคาร การตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตย์ สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และศาสตร์แขนงใหม่ด้านนี้ รวมทั้งพัฒนาและสร้างชุมชนนักวิชาการที่สนใจประเด็นดังกล่าวต่อไป
    
วัตถุประสงค์
       ๑. เพื่อให้ได้ตัวแบบอาคารสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดการ ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมและระบบนิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
       ๒. เพื่อให้ได้แนวทางการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติม ตัวอาคารของสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รูปแบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
       ๓. เพื่อให้ได้แนวทางการตกแต่งภายในตัวอาคาร การปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ เพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิต รูปแบบการทำงานของคนทำงาน และเอื้อต่อการรับบริการของผู้มาใช้บริการ

ระยะเวลาดำเนินการ

      สิงหาคม ๒๕๕๑ – สิงหาคม ๒๕๕๒

กิจกรรมการดำเนินงาน

      เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้กำหนดกิจกรรม ออกเป็น ๓ ขั้นตอนหลัก ดังนี้
      ขั้นตอนที่ ๑ ทบทวนองค์ความรู้         ๑. จัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยฝ่ายจัดการ/ ประสานงาน และฝ่ายวิชาการ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนกิจกรรม โดยให้มีคณะที่ปรึกษาทางวิชาการทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นและประเมิน ทบทวน (Review) ผลการศึกษาต่าง ๆ
         ๒. ทำการทบทวนองค์ความรู้ (Review) วิเคราะห์วรรณกรรม แนวคิด และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานะ และประเด็นการศึกษาวิจัย
         ๓. จัดประชุมวิชาการประเด็นการศึกษาวิจัย แนวคิดทฤษฎีสำคัญ โดยเบื้องต้นได้กำหนดประเด็นที่จะเสวนากันประมาณ ๓ ประเด็น มีการร่างข้อเสนอ และนำเสนอร่างดังกล่าวให้นักวิชาการที่สนใจด้านนี้ ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
         ๔. สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอ ที่ชี้ทิศทางการลงทุนในเรื่องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอาคาร การตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตย์ สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ
         ๕. จัดพิมพ์ต้นฉบับสำหรับการเผยแพร่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
      ขั้นตอนที่ ๒ ดำเนินการออกแบบ
         ๑. จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดเกณฑ์และพิจารณาการตัดสิน ประกอบด้วยบุคลากรจากหลายฝ่าย ได้แก่
               ๑) นายกสมาคมสถาปนิกสยาม
               ๒) เลขาธิการสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
               ๓) ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ
               ๔) ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค้ำ
               ๕) อาจารย์ธีรพล นิยม ผู้แทนจากสถาบันอาศรมศิลป์
               ๖) อาจารย์กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล
               ๗) นายแพทย์ทวีเกียรติ  บุญยไพศาลเจริญ 
               ๘) ผู้แทนสถาปนิกจากกองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๒ ท่าน
               ๙) นายแพทย์ยงยุทธ  พงษ์สุภาพ 
             ๑๐) นายแพทย์โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์
          ๒. จัดประชุมคณะกรรมการกำหนดเกณฑ์และเงื่อนไขการให้รางวัล พร้อมทั้งมีการแถลงข่าว แก่สื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ จำนวน ๑ ครั้ง
          ๓. ประสานติดต่ออาจารย์คณะสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดังเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และอาศรมศิลป์ เป็นต้น เพื่อเข้าร่วมโครงการ
          ๔. จัดประชุมปฏิบัติการทางวิชาการเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดหลักการสำคัญและชี้แจง โครงการ ให้แก่อาจารย์ นิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ใช้ประโยชน์จากสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยครอบคลุมรายละเอียดประเด็นการศึกษา ดังนี้
                * การสร้างวิสัยทัศน์ว่าถ้าจะสร้างตัวอาคารใหม่ควรมีรูปแบบตัวอาคารเป็นอย่าง ไร ตัวแบบอาคารนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมและระบบ นิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นอย่างไร
                * ตัวอาคารของสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในปัจจุบัน หากจะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติม ควรจะมีแนวทางอย่างไร และอยู่ภายใต้ฐานคิดอะไร
                * การตกแต่งภายในตัวอาคาร การปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ เพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิต รูปแบบการทำงานของคนทำงาน และเอื้อต่อการรับบริการของผู้มาใช้บริการ ควรมีแนวทางอย่างไร และอยู่ภายใต้ฐานคิดอะไร ที่สอดคล้องไปตามระบบนิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
          ๕. อาจารย์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ปฏิบัติโครงการออกแบบสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยให้แบบ (Model) อยู่ภายใต้เงื่อนไขตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไว้
          ๖. อาจารย์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งผลงานการออกแบบที่ผ่านการคัดเลือก จากอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละสถาบัน มาให้คณะกรรมการพิจารณา จากนั้นนำแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวไปพัฒนา (Develop) ต่อ จนได้แบบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งส่งแบบ (Model) เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณตัดสิน
          ๗. จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรอบสุดท้าย และมอบรางวัล โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและพัฒนา Project มานำเสนอผลงาน เพื่อให้กรรมการพิจารณาตัดสิน
      ขั้นตอนที่ ๓ การจัดแสดงนิทรรศการ (Exhibition)          ๑. มหาวิทยาลัย(อาจารย์และนักศึกษา)ที่ชนะการประกวดได้รับรางวัลเกียรติยศ นำแบบที่พัฒนาแล้ว ไปพัฒนาเป็นแบบก่อสร้าง เพื่อการนำไปจัดแสดงนิทรรศการ (Exhibition) ในงาน “Primary Care Symposium & Expo”
          ๒. ผู้ชนะประกวดรางวัลเกียรติยศ ทำการก่อสร้างสถาปัตยกรรมสถานีอนามัยใหม่ในทศวรรษหน้า ตามแบบที่ได้กำหนดไว้ ในงาน “Community Health & Primary Care Expo 2009” ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

งบประมาณ
ดำเนินการตลอดโครงการ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาทถ้วน)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
       สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
       สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

       ๑. ได้ตัวแบบอาคารสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดสำคัญการให้ บริการสุขภาพแบบองค์รวมและระบบนิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
       ๒. ได้แนวทางและตัวแบบการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติม ตัวอาคารของสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รูปแบบเดิมในปัจจุบัน
       ๓. ได้แนวทางการตกแต่งภายในตัวอาคาร การปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ เพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิต รูปแบบการทำงานของคนทำงาน และเอื้อต่อการรับบริการของผู้มาใช้บริการ และสอดคล้องไปตามระบบนิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น

งานวิจัย 4

โครงการวิจัยเพื่อออกแบบปรับปรุงการตกแต่งภายในอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
โดยความร่วมมือทางวิชาการจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
บันทึกความเข้าใจขั้นต้นก่อนจัดทำข้อเสนอการวิจัย
ทาง ศูนย์ฯ โดยคุณตุ๋ยได้ทำหนังสือมาถึงคณะขอเชิญผศ.ชัยณรงค์ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานต่อเนื่องจากการขอคำปรึกษาในขั้นต้นเมื่อ ต้นปี2553 ที่ผ่านมา
ผศ.ชัยณรงค์ ได้ขอเข้าพบผู้อำนวยการศูนย์เพื่อขอคำปรึกษาและทราบรายละเอียดเบื้องต้น สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไปเมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2554
ทางผู้ อำนวยการคุณตุ๋ยและอาจารย์เอ๋ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องกรอบและแนวทางจัดการดำเนินการซึ่งสรุปได้ ว่าเป็นการออกแบบเร่งด่วนและงานออกแบบภาพรวมของพื้นที่ใช้งานในปัจจุบัน สำหรับผู้บริการและคณะกรรมการพิจารณาต่อไป
บทสรุปผู้บริหาร : ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ให้ ดำเนินการออกแบบปรับปรุงพื้นที่หลักสองส่วนได้แก่ส่วนต้อนรับและประชุมส่วน หน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4 โดยให้จัดทำแบบและดำเนินการตกแต่งพื้นที่ดังกล่าวให้ผู้ใช้งานอาคาร
ให้ ดำเนินการศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรโดยจัดทำข้อสรุปเป็น แบบร่างขั้นกลางสำหรับนำเสนอที่ประชุมผู้บริหารและกรรมการฝ่ายต่างๆเพื่อ พิจารณา
โดยทั้งสองส่วนนี้ จะขอความอนุเคราะห์ให้จัดทำดำเนินการเป็นการศึกษาวิจัยและออกแบบปรับปรุงใน รายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 ของนักศึกษาภาควิชาออกแบบภายในชั้นปีที่3 (ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม2554ระยะเวลา 8 สัปดาห์)

การออกแบบตกแต่งภายในส่วนต้อนรับและประชุมส่วนหน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4
โดย การอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการให้เสร็จสิ้นของผศ.ชัยณรงค์ ซึ่งจะเป็นการอนุเคราะห์ให้บริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคมภายนอก โดยนำผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ไปใช้งานจริง โดยให้ได้เป็นตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพระดับคณะและภาควิชา
กรอบระยะ เวลาการดำเนินการวิจัยเพื่อออกแบบและปรับปรุงให้เสร็จสิ้นในปลายเดือน กรกฎาคม2554 พร้อมกับการศึกษาของนักศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4
การศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
เป็น การออกแบบและจัดการศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 โดยการอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการกำกับดูแลนักศึกษาของผศ.ชัยณรงค์  ร่วมกับผู้ช่วยวิจัย และครูพี่เลี้ยงช่วยสอนให้เสร็จสิ้นในปลายเดือนกรกฎาคม 2554
โดยแบ่งกรอบของการศึกษาออกเป็นส่วนตามกระบวนการเสนอแนะเพื่อออกแบบแก้ไขปรับปรุงกว้างๆดังต่อไปนี้
การเก็บข้อมูลทางกายภาพ
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์
การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์
การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ
กรอบแนวทางดำเนินการ : การเก็บข้อมูลกายภาพ
การ เก็บข้อมูลกายภาพของอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่น งานผังรวม ผังภูมิสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน งานระบบเทคนิคประกอบอาคาร
การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับงบประมาณ ระยะเวลา เกณฑ์และนโยบายที่สำคัญอื่นๆ ของผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง (ด้วยการสังเกต พูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ แบบเจาะจง)
การประเมิน ประสิทธิภาพและสมรรถนะอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่นด้านการใช้สอยโดยผู้ใช้ประเภทต่างๆ ข้อกำหนดของกฏหมายอาคาร ระบบ Leed system โดยนำปัจจัยทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญอีกครั้ง เพื่อวินิจฉัยแนวทางสรุปประสิทธิภาพที่เหมาะกับเกณฑ์และนโยบายของผู้บริหาร ให้มากที่สุด

กรอบแนวทางดำเนินการ : การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนประวัติความเป็นมาของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่งภายในที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพอาคาร
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายอาคารและเทศบัญญัติข้อกำหนดทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำนักงานและภาพลักษณ์องค์กร
การทบทวนการออกแบบปรับปรุงจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบต่างๆ
การทบทวนเทคนิคและวิธีการนำเสนอเพื่อการสื่อสารการออกแบบที่เหมาะสมกับโครงการนี้
กรอบแนวทางดำเนินการ : การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์
การ กำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบ จะได้มาจากผลรวมของการพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพอาคารและผลจากการเก็บ ข้อมูลจากการศึกษา ประกอบกับการตั้งประเด็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมจากคณะผู้ศึกษาวิจัยเป็นสำคัญ
และ นำประเด็นปัญหาการออกแบบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับกรณีศึกษาเปรียบเทียบที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

กรอบแนวทางดำเนินการ : การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์
การ สร้างสรรค์ของนักศึกษา จะถูกแบ่งออกตามความสามารถเป็นกลุ่มๆ ในการประเมินจากคณาจารย์ผู้สอนซึ่งใกล้ชิดกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายงานให้ปฏิบัติการนำเสนอผลงานออกแบบสร้างสรรค์ไปตามความความถนัด และทำได้ดี ทั้งนี้นักศึกษาทั้งรุ่นจะต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่และสามารถ หมุนเวียนผลงานช่วยกันทำได้อย่างตลอดและต่อเนื่องเพื่อให้ทันกำหนดเวลา ซึ่งเป็นลักษณะปกติในการดำเนินงานจริงในสำนักงานออกแบบอาชีพโดยทั่วไป โดยในที่นี้ถือเสมือนว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปในกิจกรรมด้วย
กรอบแนวทางดำเนินการ : การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ
ออกมาอยู่ในรูปของการนำเสนอที่ประกอบไปด้วย
แบบ ร่างด้วยการเขียนมือขั้นต้นทุกกระบวนการ การบันทึก แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการประเมินผล การสรุป ระเบียบและข้อกำหนดจากการทบทวนกฏหมายอาคารและกรณีศึกษาเปรียบเทียบ แบบร่างแบบแก้ไข แบบเสก็ตซ์ปรับปรุง หุ่นจำลองโมเดล ทำด้วยมือ
กระดานนำ เสนอขนาดเอสอง ในขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ การประมวลภาพถ่าย ถอดเทปเสียง ไฮไลท์เอกสาร ฯลฯ นำมาประกอบกันเข้าจนถึงผลลัพท์แบบร่างและหุ่นจำลองการเก็บซ่อนแก้ไขโยกย้าย งานระบบ
ไฟล์นำเสนอ ได้แก่ ไฟล์สามมิติเสก็ตซ์อัพอาคารเดิมก่อนการแก้ไขปรับปรุง และหลังการแก้ไขปรับปรุง ทัศนียภาพสามมิติ ด้วยคอมพิวเตอร์หรือเขียนมือประกอบผสมกัน
ชาร์ท บอร์ดวัสดุ อุปกรณ์ และราคาประเมินเบื้องต้น โดยความอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการจากผู้รับเหมาและซัพพลายเออร์หลายเจ้าเพื่อ เปรียบเทียบและประเมินที่ให้ความกรุณาอนุเคราะห์
วีดีโอไฟล์นำเสนอ ความคืบหน้าในการทำงานแต่ละขั้นตอน อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพของมัณฑนากรฝึกหัด


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ (อู๊ดดี้110)
ภาควิชาออกแบบภายใน  คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร   31 ถนนหน้าพระลาน
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
Asst.Prof.Chainarong Ariyaprasert.
Department of Interior Design ,
Faculty of Decorative Arts. Silpakorn University.
31 Napralan road.Pranakorn Bangkok.
10200 Thailand

งานวิจัย 3

โครงการวิจัยเพื่อออกแบบปรับปรุงการตกแต่งภายในอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โดยความร่วมมือทางวิชาการจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ บันทึกความเข้าใจขั้นต้นก่อนจัดทำข้อเสนอการวิจัย ทางศูนย์ฯ โดยคุณตุ๋ยได้ทำหนังสือมาถึงคณะขอเชิญผศ.ชัยณรงค์ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานต่อเนื่องจากการขอคำปรึกษาในขั้นต้นเมื่อต้นปี2553 ที่ผ่านมา ผศ.ชัยณรงค์ ได้ขอเข้าพบผู้อำนวยการศูนย์เพื่อขอคำปรึกษาและทราบรายละเอียดเบื้องต้นสำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไปเมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2554 ทางผู้อำนวยการคุณตุ๋ยและอาจารย์เอ๋ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องกรอบและแนวทางจัดการดำเนินการซึ่งสรุปได้ว่าเป็นการออกแบบเร่งด่วนและงานออกแบบภาพรวมของพื้นที่ใช้งานในปัจจุบันสำหรับผู้บริการและคณะกรรมการพิจารณาต่อไป บทสรุปผู้บริหาร : ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ให้ดำเนินการออกแบบปรับปรุงพื้นที่หลักสองส่วนได้แก่ส่วนต้อนรับและประชุมส่วนหน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4 โดยให้จัดทำแบบและดำเนินการตกแต่งพื้นที่ดังกล่าวให้ผู้ใช้งานอาคาร ให้ดำเนินการศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรโดยจัดทำข้อสรุปเป็นแบบร่างขั้นกลางสำหรับนำเสนอที่ประชุมผู้บริหารและกรรมการฝ่ายต่างๆเพื่อพิจารณา โดยทั้งสองส่วนนี้ จะขอความอนุเคราะห์ให้จัดทำดำเนินการเป็นการศึกษาวิจัยและออกแบบปรับปรุงในรายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 ของนักศึกษาภาควิชาออกแบบภายในชั้นปีที่3 (ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม2554ระยะเวลา 8 สัปดาห์) การออกแบบตกแต่งภายในส่วนต้อนรับและประชุมส่วนหน้าทางเข้าอาคาร และพื้นที่ส่วนห้องประชุมในชั้น4 โดยการอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการให้เสร็จสิ้นของผศ.ชัยณรงค์ ซึ่งจะเป็นการอนุเคราะห์ให้บริการวิชาการและวิชาชีพสู่สังคมภายนอก โดยนำผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ไปใช้งานจริง โดยให้ได้เป็นตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพระดับคณะและภาควิชา กรอบระยะเวลาการดำเนินการวิจัยเพื่อออกแบบและปรับปรุงให้เสร็จสิ้นในปลายเดือนกรกฎาคม2554 พร้อมกับการศึกษาของนักศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4 การศึกษาภาพรวมเพื่อการเสนอแนะ ในการออกแบบแก้ไขปรับปรุงอาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นการออกแบบและจัดการศึกษาในรายวิชาออกแบบภายใน4 และวิชาระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน2 โดยการอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการกำกับดูแลนักศึกษาของผศ.ชัยณรงค์ ร่วมกับผู้ช่วยวิจัย และครูพี่เลี้ยงช่วยสอนให้เสร็จสิ้นในปลายเดือนกรกฎาคม 2554 โดยแบ่งกรอบของการศึกษาออกเป็นส่วนตามกระบวนการเสนอแนะเพื่อออกแบบแก้ไขปรับปรุงกว้างๆดังต่อไปนี้ การเก็บข้อมูลทางกายภาพ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์ การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ กรอบแนวทางดำเนินการ : การเก็บข้อมูลกายภาพ การเก็บข้อมูลกายภาพของอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุงเช่น งานผังรวม ผังภูมิสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน งานระบบเทคนิคประกอบอาคาร การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับงบประมาณ ระยะเวลา เกณฑ์และนโยบายที่สำคัญอื่นๆ ของผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง (ด้วยการสังเกต พูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ แบบเจาะจง) การประเมินประสิทธิภาพและสมรรถนะอาคารทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง เช่นด้านการใช้สอยโดยผู้ใช้ประเภทต่างๆ ข้อกำหนดของกฏหมายอาคาร ระบบ Leed system โดยนำปัจจัยทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญอีกครั้ง เพื่อวินิจฉัยแนวทางสรุปประสิทธิภาพที่เหมาะกับเกณฑ์และนโยบายของผู้บริหารให้มากที่สุด กรอบแนวทางดำเนินการ : การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การทบทวนประวัติความเป็นมาของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่งภายในที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพอาคาร การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายอาคารและเทศบัญญัติข้อกำหนดทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแก้ไขปรับปรุง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำนักงานและภาพลักษณ์องค์กร การทบทวนการออกแบบปรับปรุงจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบต่างๆ การทบทวนเทคนิคและวิธีการนำเสนอเพื่อการสื่อสารการออกแบบที่เหมาะสมกับโครงการนี้ กรอบแนวทางดำเนินการ : การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบและที่มาของแรงบันดาลใจต่อแนวทางการสร้างสรรค์ การกำหนดประเด็นปัญหาการออกแบบ จะได้มาจากผลรวมของการพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพอาคารและผลจากการเก็บข้อมูลจากการศึกษา ประกอบกับการตั้งประเด็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมจากคณะผู้ศึกษาวิจัยเป็นสำคัญ และนำประเด็นปัญหาการออกแบบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับกรณีศึกษาเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อไป กรอบแนวทางดำเนินการ : การแปรรูปแรงบันดาลใจและเกณฑ์หรือข้อสรุปเพื่อแนวทางการออกแบบสู่การสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ของนักศึกษา จะถูกแบ่งออกตามความสามารถเป็นกลุ่มๆ ในการประเมินจากคณาจารย์ผู้สอนซึ่งใกล้ชิดกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายงานให้ปฏิบัติการนำเสนอผลงานออกแบบสร้างสรรค์ไปตามความความถนัด และทำได้ดี ทั้งนี้นักศึกษาทั้งรุ่นจะต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่และสามารถหมุนเวียนผลงานช่วยกันทำได้อย่างตลอดและต่อเนื่องเพื่อให้ทันกำหนดเวลา ซึ่งเป็นลักษณะปกติในการดำเนินงานจริงในสำนักงานออกแบบอาชีพโดยทั่วไป โดยในที่นี้ถือเสมือนว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปในกิจกรรมด้วย กรอบแนวทางดำเนินการ : การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ ออกมาอยู่ในรูปของการนำเสนอที่ประกอบไปด้วย แบบร่างด้วยการเขียนมือขั้นต้นทุกกระบวนการ การบันทึก แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการประเมินผล การสรุป ระเบียบและข้อกำหนดจากการทบทวนกฏหมายอาคารและกรณีศึกษาเปรียบเทียบ แบบร่างแบบแก้ไข แบบเสก็ตซ์ปรับปรุง หุ่นจำลองโมเดล ทำด้วยมือ กระดานนำเสนอขนาดเอสอง ในขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ การประมวลภาพถ่าย ถอดเทปเสียง ไฮไลท์เอกสาร ฯลฯ นำมาประกอบกันเข้าจนถึงผลลัพท์แบบร่างและหุ่นจำลองการเก็บซ่อนแก้ไขโยกย้ายงานระบบ ไฟล์นำเสนอ ได้แก่ ไฟล์สามมิติเสก็ตซ์อัพอาคารเดิมก่อนการแก้ไขปรับปรุง และหลังการแก้ไขปรับปรุง ทัศนียภาพสามมิติ ด้วยคอมพิวเตอร์หรือเขียนมือประกอบผสมกัน ชาร์ท บอร์ดวัสดุ อุปกรณ์ และราคาประเมินเบื้องต้น โดยความอนุเคราะห์ช่วยดำเนินการจากผู้รับเหมาและซัพพลายเออร์หลายเจ้าเพื่อเปรียบเทียบและประเมินที่ให้ความกรุณาอนุเคราะห์ วีดีโอไฟล์นำเสนอ ความคืบหน้าในการทำงานแต่ละขั้นตอน อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพของมัณฑนากรฝึกหัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ (อู๊ดดี้110) ภาควิชาออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย

งานวิจัย 2

การพัฒนาวัสดุและสิ่งแวดล้อมอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน

Development of Building Materials and Building Environment for Saving the Energy
โดย ประชุม คำพุฒ, สมเกียรติ รุ่งทองใบสุรีย์, นิติพงศ์ ปานกลาง, สมพิศ ดีบุญโน, อนินท์ มีมนต์, ประดิษฐ์ แพรศรี, อรุณ ศรีจันทร์, เกษียร ธรานนท์, สุกัญญา ชัยพงษ์
ปี 2552

บทคัดย่อ (Abstract)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์บริหารโครงการภายใต้ชุดโครงการการพัฒนาวัสดุและสิ่งแวดล้อมอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน ที่ประกอบด้วยโครงการย่อย ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่ โครงการการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานตามแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน, การจัดภูมิทัศน์เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร, การลดอุณหภูมิภายในอาคารด้วยการระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติ, การพัฒนาวัสดุประกอบผนังตกแต่งภายในจากใยมะพร้าวเพื่อลดความร้อน, การพัฒนาใช้ยอดและใบอ้อยที่เหลือทิ้งจากการเกษตรเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร, การพัฒนา กระเบื้องหลังคาและฝ้าเพดานโดยใช้ยางธรรมชาติเพื่อลดอุณหภูมิภายในอาคาร และการผลิตไม้อัดจากซังข้าวโพดสำหรับเป็นผนังฉนวนความร้อนในอาคาร ทำให้ได้ต้นแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่สามารถประหยัดพลังงาน กลมกลืนกับธรรมชาติ และเป็นตัวอย่างของการนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้งานจริง นอกจากนี้ยังมีการนำผลการดำเนินงานบางส่วนไปถ่ายทอดให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา ผู้ให้ทุนสนับสนุนด้านงานวิจัย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า การบริหารชุดโครงการนี้สามารถประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ
This research project under the management objectives set for development of building materials and building environment for saving the energy. That includes all sub-projects 7 projects, including residential design for saving the energy under concept of sustainable architecture project, landscape design for reducing the heat transferred into buildings project, room temperature reduction by using automatic ceiling hot-air ventilation project, development of composite materials from coir fiber as interior panels for reducing the heat project, the application of sugar cane leave for producing energy conservative product for internal building project, the development of roof tile and ceiling using natural rubber for reducing the temperature at the interior of the buildings project, and production of plywood from corncob for heat resistance wall in building project. Both of them can made to model building energy conservation and environmental savings and example of bringing research to actual application. There are also bringing results to broadcast some of the people involved include educational institutions, funding of research, local organization and the private sector as well as the general interest. From resulting, they can achieve all objectives set.
DOWNLOAD : การพัฒนาวัสดุและสิ่งแวดล้อมอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน
Tags:
Posted in Research, วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)

งานวิจัย 1

โครงการศึกษาวิจัยและออกแบปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งภายในอาคารและลานกิจกรรมรอบพรุเฉวง
โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ และคณะ
ความเป็นมา
          โครงการ ศึกษาวิจัยและออกแบปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งภายในอาคารและลานกิจกรรมรอบ พรุเฉวง เป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยคณะมัณฑนศิลป์ ร่วมกับสำนักงานเทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการขึ้นเพื่อออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งภายในอาคารและลาน กิจกรรมรอบพรุเฉวง ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของชุมชน
          จากการทบทวนการศึกษาเดิม พรุเฉวงถูกปรับปรุงให้เป็นแหล่งพักผ่อนจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติสำหรับชุมชน โดยรอบเมื่อก่อนปีพุทธศักราช 2549 แต่จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ผลจากความไม่ต่อเนื่องในงบประมาณดำเนินการตามข้อเสนอปรับปรุงภูมิทัศน์เดิม ประกอบกับเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมถึงการปล่อยปละละเลยพื้นที่ จึงก่อนให้เกิดสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่าจากการได้รับงบ ประมาณที่ไม่เป็นไปตามแผน เพื่อให้เทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากพรุเฉวงเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ รวมถึงเพื่อจะได้มีแบบปรับปรุงภูมิทัศน์และการออกแบบตกแต่งภายในเพื่อการ ปรับปรุงสำหรับการใช้งานที่ตรงประเด็นและเต็มประสิทธิภาพสำหรับการจัดทำคำขอ ตั้งงบประมาณได้ทันทีไม่ล่าช้า จึงมีแนวคิดที่จะออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์รอบลานกิจกรรมพรุเฉ วงอีกครั้ง ด้วยการขอความอนุเคราะห์เรียนเชิญคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะที่ปรึกษา โดยทำการศึกษาและสำรวจข้อมูลอีกครั้ง โดยจากผลการสำรวจเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม 2552 (รับทราบเนื้อหาข้อเสนอได้จาก http://uddee.multiply.com/journal/item/467/467) ได้เสนอแนะทิศทางที่เหมาะสมในการปรับแต่งภูมิทัศน์ และเพิ่มความสามารถรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนสำหรับทั้งประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่มีความสนใจในวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนเกาะ ให้เป็นศูนย์บริการสำหรับนักท่องเที่ยวมาตรฐานสากล และมีกิจกรรมทีี่่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูมิทัศน์โดยรอบ รวมถึงเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจอันดี
          เพื่อให้การปรับปรุงภูมิทัศน์และตกแต่งภายในอาคารและลานกิจกรรมรอบพรุเฉวง บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความคุ้มค่ากับงบประมาณ รวมทั้งเป็นศูนย์บริการสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สามารถรองรับกิจกรรมของชุมชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูมิทัศน์โดยรอบพรุเฉวง ตลอดจนเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต และส่งเสริมความเป็นระเบียบในชุมชน ให้สามารถดำรงอยู่อย่างสมดุลและยั่งยืน ดังนั้น คณะที่ปรึกษาจึงขอเสนอเป็นที่ปรึกษาในการศึกษาวิจัยและออกแบบปรับปรุงภูมิ ทัศน์และตกแต่งภายในอาคารและลานกิจกรรมรอบพรุเฉวง เพื่อให้โครงการทั้งหมดสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของชุมชนและเทศบาลเมือง เกาะสมุยโดยสมบูรณ์ต่อไป
ภาพผลงาน
ภาพที่ 1 ภาพการออกแบบร้านค้า
 
ภาพที่ 2 ทัศนียภาพมุมสูงลานครึ่งวงกลม
ภาพที่ 3 ทัศนียภาพบริเวณร้านค้า สำหรับบริการนักท่องเที่ยวและประชาชน
ภาพที่ 4 ทัศนียภาพภายในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
คณะดำเนินงาน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ หัวหน้าโครงการ
2. อาจารย์สมชาย สุพิสาร     กรรมการ
3. อาจารย์พัฒนา เจริญสุข    กรรมการ
4. นางสาวมุกดา จิตพรมมา   กรรมการและเลขานุการ
5. นางสาวสุรีพร แป้นพิบูลลาภ   เหรัญญิก