วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 15


งานวิจัย 14

การศึกษาและพัฒนาเก้าอี้พับเพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม(Study and development of folding chair for environmental conservation)


Add to database on : 26 September, 2009           การศึกษาและพัฒนาเก้าอี้เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยไว้ 3 ประการ คือ
      1. เพื่อต้องการศึกษาและพัฒนาเก้าอี้เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อม

      2. เพื่อต้องการหาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการออกแบบ ด้านการผลิต และด้านวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม

      3. เพื่อต้องการหาความพึงพอใจต่อผู้ใช้ที่มีต่อเก้าอี้

      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรกลุ่มชมรมรักสุขภาพ และรักษ์ธรรมชาติ ผู้ที่อาศัยอยู่ในโครงการบ้านจัดสรร เขตมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก กทม. จำนวน 60 คน ขั้นตอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังต่อไปนี้

      ขั้นศึกษาและพัฒนา ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีของ จอห์น เอฟ.ไพล์ (John F. Pile.1972. Modern Furniture) ประยุกต์ผสมผสานร่วมกับทฤษฎีของ ชาร์ล ดี.แกนดี และซูซาน ซิมเมอร์มานสติดแฮม (Charles D. Gandy, A.S.I.D., and Susan Zimmerman - Stidham. 1984. Contemporary Classics Furniture of the Master) และกรอบแนวคิดการออกแบบเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมใช้ทฤษฎีของ ราเชล คูเปอร์ (Rachel Cooper, Theory of Green Design : The Design Agenda, 1997.)
      ขั้นพัฒนาเก้าอี้ ใช้เครื่องมือวิจัยที่ประกอบไปด้วยแบบร่างของเก้าอี้ และแบบสอบถามระดับความคิดเห็นในด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความงามของรูปทรง ด้านโครงสร้างความแข็งแรง ด้านการผลิต และด้านวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน (รวม 6 ท่าน) ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิต 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2 ท่าน
      ขั้นหาความพึงพอใจจากผู้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เก้าอี้ต้นแบบ พร้อมแบบสอบถาม นำไปให้ผู้ใช้ (จำนวน 60 คน) นั่งและประเมินหาความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
     จากการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน จำนวน 6 ท่าน ในด้านประโยชน์ใช้สอยด้านความงามของรูปทรง ด้านโครงสร้างความแข็งแรง ด้านวัสดุ ด้านการผลิต และด้านรักษ์สิงแวดล้อม เก้าอี้ มีค่าเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 3.98 ซึ่งหมายความว่า ผลการประเมินโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประเมินให้ทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับ ดี
     ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้จำนวน 60 คน ในด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านวัสดุ ด้านราคา และด้านรักษ์สิงแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งหมายความว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ พอใจมาก
ABSTRACT
     This research to study and development of Folding Chair for Environmental Conservation. To have three objectives are under considerations as
     1. To study and development Folding Chair for Environmental Conservation.
     2. To try and find out the opinions of 6 expertises are expert in design, in production, in materials with environmental conservation.
     3. To try and find out user’s satisfaction Sample group is target group 60 persons who care & love nature, most of them live in housing projects, locations are Ladkrabang, and Nongchok Bangkok.
The research methodology has three steps as
     Step I, Study and development Folding Chair was considering in Theory of Modern Furniture (John F. Pile.1972, Charles D. Gandy, A.S.I.D. & Susan Zimmerman - Stidham.1984. Contemporary Classics Furniture of the Master.) and Theory of Green Design (Rachel Cooper : The Design Agenda 1997.)
     Step II, Development for Folding Chair, Researcher created tools of research are Questionnaire and Sketch Design Folding Chair 2 designs evaluate by 6 expertises who expert in furniture design, production, materials with environmental conservation 
     Step III, To try and find out user’s satisfaction, target group was 60 persons who care & love nature, most of them live in Housing Project, locations are Ladkrabang, Miinburi Bangkok. Tools of research methodology are a prototype of Folding Chair and questionnaire. All of users test easy chair by sitting and answered questions to consider in questionnaire.
     Analysis, collected data were analyzed by SPSS program statistic tool were composed of mean, standard deviation and percentage.
     The results are :
     Six expertises evaluation Folding Chair in 6 factors were function, aesthetic form, structures, materials, mass-production and environmental conservation average 3.98 meaning is good level.
              The result of user’s satisfaction, users sixty persons evaluate in 5 factors were aesthetic, function, materials, pricing and environmental conservation average 4.29 the meaning is very satisfaction.

























งานวิจัย 13

การ พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โรงเรียนบ้านบุ่งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก : The Development of Physical Environment for Baan Boongkhe Primary School at Nongsaeng Subdistrict Parkplee District, Nakornnayok Province


Add to database on : 25 November, 2009
บทคัดย่อ
        การวิจัย เรื่อง การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โรงเรียนบ้านบุ่งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก ทำขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนในชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น มีัวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อสำรวจปัญหาของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นอยู่ของโรงเรียนบ้านบุ้งเข้ 2) เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของผู้ใช้อาคาร ได้แก่ ครู และนักเรียน  และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนนี้
        การวิจัยเริ่มจากการศึกษาและสำรวจเบื้องต้น เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยสภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้นของโรงเรียนบ้านบุ่งเข้ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อนำมาออกแบบการวิจัย มีตัวแปรของการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรอิสระ คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียน และตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้ จากนั้นจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสังเกตการณ์ ในส่วนของลักษณะทางกายภาพของสถานที่ และพฤติกรรมของนักเรียน และใช้แบบสัมภาษณ์ กับคุณครู 12 คน ในเรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้น และความต้องการต่าง ๆ แล้วจึงนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์และสรุปผล และเสนอแนะเป็นแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนบ้านบุ่ง เข้  ซึ่งจากการวิจัย ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ได้แก่
      1. การขยายห้องพักครู ให้มีโต๊ะรองรับคุณครูทุกคนและมีห้องอาจารย์ใหญ่เป็นสัดส่วน
      2. จัดลำดับห้องเรียนใหม่ให้เกิดความต่อเนื่อง โดยย้ายชั้นเรียน ป.1 ขึ้นมาอยู่ชั้นบนของอาคาร 1 และย้าย ป.6 ไปอยู่อาคาร 2 เพื่อให้ชั้นใต้ถุนที่ไม่เหมาะแก่การเป็นห้องเรียนสามารถเปิดเป็นพื้นที่ โล่งอเนกประสงค์ได้
      3. ย้ายห้องสมุดจากอาคาร 2 มาอยู่ใต้ถุนห้องพักครู เพื่อให้สามารถดูแลได้ทั่วถึง และอยู่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมนักเรียน
      4. จัดวางตำแหน่งห้องกิจกรรมของทั้ง 2 อาคารเรียน เช่น ห้องพยาบาล, ห้องเกษตร, ห้องสหกรณ์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับกิจกรรม เพื่อการใช้งานที่เกิดประโยชน์มากขึ้น
      5. ขยายและปรับตำแหน่งโรงอาหาร เพื่อรองรับนักเรียนได้มากขึ้น และเผื่อการขยายเป็นอาคาร 2 ชั้นในอนาคต เพื่อทำเป็นห้องสมุดถาวร
      6. เสนอแนะรายละเอียดอื่น ๆ เช่น การตกแต่งถังเก็บน้ำฝนให้สวยงามและเพิ่มประโยชน์ใช้สอย, การทำรางน้ำฝน, การปลูกต้นไม้เพิ่ม เป็นต้น
       ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะนำมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่โรงเรียน บ้านบุ่งเข้ ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก และเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อไปศึกษาพัฒนาโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด สปช. อันเป็นผลใก้การจัดการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่ดีึขึ้น

งานวิจัย 12

การ ศึกษาโครงสีในงานจิตรกรรมและการตกแต่งที่มีผลต่องานสถาปัตยกรรมภายใน ( กรณีศึกษา วัดในจังหวัดขอนแก่น) : The Study of Color Scheme of Mural Painting and Decoration in Interior Architecture (Case study Temples in Khonkaen)http://161.246.17.11/09/research/?p=94


Add to database on : 26 November, 2009

บทคัดย่อ
           การทำวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสีในงานจิตรกรรมและการตกแต่งที่มีผลต่องานสถาปัตยกรรมภายใน (กรณีศึกษา วัดในจังหวัดขอนแก่น)  เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจและนักศึกษา สามารถนำข้อมูลที่ศึกษานี้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป  งาน วิจัยนี้มีตัวอย่างของการตกแต่งภายในวัดที่จังหวัดขอนแก่นที่เป็นวัดสำคัญ และยังคงมีภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่า ผู้ทำวิจัยจึงเน้นเรื่องโครงสี และเปรียบเทียบลักษณะการตกแต่งของวัด 3 วัด
ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่า
-     รูปแบบของสิมอีสาน  มีขนาดเล็ก อาจเนื่องจากงบประมาณในการสร้าง  รวม ถึงวิถีชีวิตของคนอีสานที่ไม่ต้องการอะไรใหญ่โตหรือฟุ่มเฟือย มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และการสร้างสิมใช้วิธีอาศัยความร่วมมือร่วมแรงของชาวบ้าน ใช้ช่างพื้นถิ่น  ใครมีวัสดุอะไรก็ช่วยกันหาหรือบริจาค และใช้ช่างพื้นถิ่น   
-      ภาพฮูปแต้มอีสานเป็นงานที่มีลักษณะพื้นถิ่นที่มีคุณค่าซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวอีสานได้อย่างสมบูรณ์   ลักษณะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตเห็นได้จากงานประเพณีต่างๆ, การแต่งกาย, การ ละเล่น ซึ่งช่างแต้มได้สอดแทรกไว้ในภาพในช่วงเวลาที่เขียนนั้น และปัจจุบันเป็นหลักฐานการบันทึกประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้มีคุณค่ามาก
            สำหรับโครงสีที่ศึกษาได้ ผู้วิจัยพยายามให้ได้โครงสีใกล้เคียงที่สุดโดยเทียบสีกับสถานที่จริง โดยใช้แผ่นเทียบสี Pantone สำหรับการพิมพ์ใช้หมวด YMCK และนำมาผสมตัวสีในเครื่องคอมพิวเตอร์     ถ้าสีที่พิมพ์ออกมาเพี้ยนไปบ้างจากระบบการพิมพ์        ผู้ที่ต้องการเห็นสีที่ใกล้เคียงของจริงสามารถผสมเองได้ตามรหัสสีที่ให้ไว้ในงานวิจัย   หวังว่างานวิจัยนี้คงเป็นแนวทางให้ผู้ที่ต้องการตกแต่งภายในลักษณะที่มีความเป็นอีสาน      สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป  

Abstract

            This research on the color scheme of Mural Paintings and Decorations in Interior Architecture (Case Study : Temples in Khonkaen) is to provide data for students and interested persons for future practical application.  This research shows the decorations and the color schemes in some important temples in the Khonkaen which have significant mural paintings.
            The results of the research show that
-      The  temple(Sim) in E-Sarn are small. It’s up to the cost of the building and the way of E-Sarn  people that have sufficient life style.When they built Sim they help each other to find the materials and used the skill of the people in their villages.
-      In E-Sarn  mural painting  is great value of folk art.It reflects a perfect characteristic of life from this part of the land. The characteristic of northeast folk’s life cycle can be seen in traditional events,costumes,games and implements in time of the painter.Now these are trustworthy historical evidences.
            In this research, the researcher uses Pantone Color chart to match the colors at the site and uses YMCK mode to mix colors in computer.  Interested persons can reproduce the colors by using the code given in this research to obtain the closest actual colors study of this study.  It is hoped that this research can serve those who wish to do interior decorations in the E -Sarn traditional style.



งานวิจัย 11

การวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจกรรมการใช้พื้นที่บ้านพักอาศัย : Comparative  Analysis  of Activity in house.

Add to database on : 11 December, 2009
บทคัดย่อ
       ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้วิถีทางการใช้พื้นที่ภายในบ้านมีความ แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของกิจกรรมและพฤติกรรมของผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่ย่อย ของบ้านหรือความแตกต่างจากความต่างกันของบริบทของบ้าน หรือความแตกต่างของบริบทผู้ใช้ ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของบ้านที่ถูกออกแบบภายใต้ เกณฑ์การออกแบบหรือแนวทางการออกแบบที่เป็นมาตรฐานสากลไม่สามารถตอบสนองการ ใช้งานหรือพฤติกรรมคนไทยได้ดีเท่าที่ควร การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับประเภทและขนาดของ พื้นที่กิจกรรมย่อยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 5 กิจกรรมหลักภายในบ้าน โดยเน้นการค้นหาชนิด ขนาด และความสัมพันธ์ระหว่างกันของเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประกอบพฤติกรรมใน พื้นที่กิจกรรมย่อยต่าง ๆ เพื่อสรุปเป็นแนวทางในการจัดวางพื้นที่ภายในบ้านที่สอดคล้องกับพฤติกรรมคน ไทย  โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจกรรมการใช้พื้นที่ 5 กิจกรรมหลักภายในบ้านพักอาศัยของนักศึกษาภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน 40 ตัวอย่าง  โดยใ้ห้นักศึกษาทำการสังเกตพฤติกรรมการใช้พื้นที่และทำการเก็บข้อมูลสภาพแวด ล้อมทางกายภาพภายในบ้านพักอาศัยตนเอง  และผู้วิจัยนำผลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปเป็นค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าความสัมพันธ์โดยใช้ค่าความสัมพันธ์ที่มีระดับมากที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป  และค่าความสัมพันธ์ที่ระดับปานกลางร้อยละ 20-49 และ สรุปผลเป็นความต้องการของขนาดพื้นที่ (Area requirement) ของแต่ละพื้นที่ย่อยและ 5 พื้นที่หลักด้วยวิธีการทำโปรแกรมการออกแบบ
      จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ใช้สอยที่มีความสอดคล้องกับกิจกรรมและพฤติกรรมใน ขนาดที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานภายในบ้านของคนไทยประกอบด้วย ห้องครัวขนาด 7.25-15.25 ตร.ม. ห้องรับประทานอาหารขนาด 3.33-12.73 ตร.ม. ห้องรับแขก 6.26-11.64 ตร.ม. ห้องนั่งเล่นขนาด 7.27-15.24 ตร.ม. ห้องน้ำหรือห้องส้วม 2 ห้องขนาด 3.20-3.96 ตร.ม. ห้องนอนใหญ่ 1ห้องขนาด 9.62-25.40 ตร.ม. หรือ 11.51-31.75 ตร.ม. และห้องนอนเล็กอีก 2 ห้องขนาด 10.13-26.49 ตร.ม. และ 7.37-20.94 ตร.ม. ผลสรุปของขนาดพื้นที่และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ถูกจัดวางรวมใน 5 พื้นที่หลักได้เป็น 2 แนวทาง  โดยบ้านขนาดเล็กที่สุดต้องการพื้นที่ประมาณ 61.15-77.38  ตร.ม. และบ้านที่มีขนาดพื้นที่ที่กำลังพอดีกับความสะดวกสบาย คือ 141.75-184.55 ตร.ม. อย่างไรก็ตามวิจัยนี้มีประเด็นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ทั้งขนาดกลุ่มตัวอย่าง บริบทบ้านกับสถานภาพของบุคคล และรายละเอียดพฤติกรรมที่เจาะลึก
Abstract
      Because of the variety of social and culture effect the way of life in houses are different, especially the difference of human activity and behavior in several areas in the houses and the difference of several contexts of houses and users. These problems make the physical environment in houses that design from the standard criteria of guideline are not practical for Thai people. The objective of this study is to define the type and size of sub-activity areas in 5 main areas of Thai people houses, by finding the type, size and relationship of furniture and equipemnts in sub-activity areas. And conclude them as a house’s floor plan guideline that appropriate for Thai people. The research method is activities comparison analysis in 40 student houses (Interior Architecture Division, Architecture Faculty, King Mongkut’s Institute of Technology, Ladkrabang). The students collected physical environment, activities and behavior in their houses by observation methods. The result of analysis is means, frequency and the value of relationship at the high level (50% up) and moderate level (20%-49%). The solution is the area requirements of each sub-activity areas and 5 main areas in house by use desgin programming technique to summarize.
     The findings indicate that the size of areas in appropriate with activities and behavior in kitchen is 7.25-15.25 sq.m., dining room is 3.33-12.73 sq.m., living area is 6.26-11.64 sq.m., family room 7.27-15.24 sq.m., bathroom or toilet is 3.20-3.96 sq.m., master bed room is 9.26-25.40 sq.m., or 11.51-31.75 sq.m., another two bed rooms are 10.13-26.49 sq.m., and 7.37-20.94 sq.m. The area requirement have concluded two sizes, for small house is 61.15-77.38 sq.m. and the appropriate size is 141.75-184.55 sq.m. There is argument on this study because the examples have not enough and the type of houses should be related with context of user and concerned in-depth behavior.

งานวิจัย 10

สภาวะความสบายจากการใช้พัดลมโคจร  กระจายความเย็นเพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ กรณีศึกษาอาคารเรียนรวม  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.

Add to database on : 16 February, 2010
บทคัดย่อ
        การเปิดพัดลมช่วยในการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของอากาศ  โดยที่เป็นอากาศเย็นจากการที่เปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้สภาวะความรู้สึก ของผู้ใช้รู้สึกว่าอากาศเย็นสบายพอเหมาะโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เครื่องปรับ อากาศทำความเย็นลงมาที่อุณหภูมิประมาณ 25 องศาหรือต่ำกว่าผลที่ได้คือคอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานน้อยลง  ทำให้เพิ่มอายุการใช้งานและเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า  การวิจัยนี้เป็นการหาระดับความเย็นและความเร็วลมที่เหมาะสมที่สร้างความ รู้สึกสภาวะความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) ต่อกิจกรรมการนั่งเรียนหรือฟังบรรยาย และเปรียบเทียบหาอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพียงอย่างเดียวกับการเปิดเครื่องปรับอากาศร่วมกับพัดลม
        จากการวิจัยพบว่าการตั้งระดับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 27 - 28 องศาเซลเซียส และเปิดพัดลมโคจรติดฝ้าเพดาน ระดับความเร็วลมเฉลี่ยระหว่าง 0.44-0.62 เมตรต่อวินาทีหรือระดับความเร็วลมเฉลี่ยของพัดลมโคจรติดเพดานทั้ง 3 ระดับ  ให้เกิดกระแสลมพัดผ่านผิวกายก็จะทำให้เกิดความรู้สึกเย็นสบายขึ้น  ทำให้ไม่ต้องปรับตั้งระดับอุณหภูมิที่ต่ำกว่า  เป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าเปิดเพียงเครื่องปรับอากาศแต่เพียง อย่างเดียวที่ตั้งระดับอุณหภูมิต่ำ ๆ  ซึ่งเมื่อนำหลักการดังกล่าวมาใ้ช้กับห้องเรียนหรือห้องบรรยาย  สำหรับห้องเรียนที่ติดเครื่องปรับอากาศ  ก็จะทำให้สามารถประหยัดการใช้พลังงานลงได้  คือที่ระดับอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส  จะประหยัดการใ้ช้พลังงานไฟฟ้าลง 12.88 เปอร์เซ็นต์  และที่ระดับอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ก็จะประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 18.84 เปอร์เซ็นต์
Abstract
       In order to reduce air conditioner energy consumption, the combined system between an electric fan and an air conditioner could be apply to lower the cooling load of the air conditioner. The additional air movement from electric fans also affects human thermal comfort especiaily when the air is cooled, consequently, there is no need to set the air conditioner to cool the environment at typical level - like 25 celsius.
      The aims of this research are 1) to examine the optimization of the electric fan’s air speed and the air conditioner’s cooling level–in term of degree Celsius–to provide thermal comfort in classroom condition 2) to compare the energy consumption between conventional air conditioner system and the electric-fan-and-air-conditioner-combined system.
      The research found that if the ceiling circulated electric fan provided the air speed at.0.44-0.62 m/s, the cooling level of the air conditioner in the combined system could be set to 27-28 Celsius to gain thermal comfort. Consequently, when compare to cooling level of conventional air conditioner system, the electric-fan-and-air-conditioner-combined system consumed less energy than did the conventional air conditioner system.
      These results can apply to reduce energy consumption in air-conditioned classrooms. That is, if the air conditioner of the combined system is set to 27 Celsius, the energy will be saved to 12.88 percent. On the one hand, if it is set to 28 Celsius, the power energy will eventually be saved up to 18.84 percent.

งานวิจัย 9



 
 
โครงการ วิจัยเพื่อการแก้ไขปรับปรุงภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรมและตกแต่งภายในหมู่เรือนไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี  ผ.ศ.ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
ที่มาของปัญหา
เรือน หมู่ทรงไทยชุดนี้เป็นการรวบรวมเอาเรือนไทยจำนวน 4 หลัง จากหลายสมัยเข้าด้วยกัน เพื่อจัดสร้างเป็นบ้านพักผ่อนของบิดา มารดาของผู้บริหารระดับสูงบริษัทเสาไห้ไรซ์มิลล์
เป็นเรือนชุดอยู่บริเวณลานตากข้าวด้านหน้าโรงสี อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี ซึ่งอุณหภูมิสูงมากจากลานซีเมนต์ ที่คายความร้อนช้า
ต้องการให้ปรับปรุงโดยให้ใช้งานตามประโยชน์ใช้สอยปัจจุบันได้จริง โดยให้คงลักษณะเดิมมากที่สุด
ความต้องการเบื้องต้น
เรือน ซ้ายเป็นเรือนพระ เรือนกลางและเรือนขวา เป็นห้องบิดาและมารดาตามลำดับ ภายในมีห้องน้ำและส่วนแต่งตัวต่อเนื่องกัน(ทั้งสามห้องมีระบบปรับอากาศ)
ชานกลางมี”หอนก”สำหรับสังสันทน์พักผ่อนโดยให้ยกพื้นเจาะช่องระบายอากาศและให้แสงสว่างที่ใต้ถุน
ด้านหลังมีเรือนครัว ใต้ถุนสำหรับจัดงานได้ โดยมีห้องน้ำ ห้องเก็บของ สวนร่มรื่น สระน้ำ เพื่อสวยงามและระบายความร้อน
แบบผังร่างโดยนายช่างปรุงเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แบบร่างส่วนสัด ณ หน้างาน โดยผ.ศ.ชัยณรงค์
ที่จะดำเนินการต่อไป
ร่างแปลนผังการใช้งานและทัศนียภาพในเรือนไทย
ร่างทัศนียภาพมุมต่างๆและมุมโดยรวมของอาคาร
ขึ้นทัศนียภาพด้วยคอมพิวเตอร์สามมิติ
เขียนแบบและทัศนียภาพในแต่ละส่วนงานให้ช่างปรุงเรือนดำเนินการ
เขียนแบบและทัศนียภาพให้ช่างต่อเติมและงานสวน
เขียนแบบตกแต่งภายในเพื่อให้ช่างตกแต่งภายใน